วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาของแรมที่พบบ่อย ๆ และการแก้ไข
มีเสียงร้องหลังจากเปิดเครื่องและไม่มีภาพ มีสาเหตุดังนี้
1. เสียบ RAM ไม่แน่น
วิธีแก้ไข : ให้ลองเปิดฝาเครื่องแล้วขยับ RAM ให้แน่น
2. เกิดจากหน้าสัมผัสของ RAM ไม่สะอาด
วิธีแก้ไข : เปิดฝาเครื่องออกมาแล้วให้ลองขยับ RAM ให้แน่น ถ้ายังไม่หายให้ลองถอด RAM ออกมาทำความสะอาดหน้าสัมผัส โดยใช้ยางลบดินสอหรือน้ำยา
3. เกิดจากการเสียบ RAM ผิดแถว
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางรุ่นต้องเสียบ RAM ไล่จากแถวที่ 1 ขึ้นไป ให้ลองนำ RAM มาเสียบที่ Slot ที่ 1 และไล่ลงไปในกรณีที่มี RAM หลายแถว
4. RAM ที่ใส่ไปไม่ตรงกับชนิดที่เมนบอร์ดรับได้
วิธีแก้ไข : ตรวจสอบกับคู่มือเมนบอร์ดว่าเป็นชนิดที่ถูกต้องและขนาดที่ไม่เกินที่เมนบอร์ดกำหนดในแต่ละแถว ถ้าไม่ถูกให้นำ RAM ชนิดที่ถูกต้องมาใส่
5. เกิดจากความผิดผลาดของกระบวนการเช็คตอนเปิดเครื่อง ( POST) ของไบออส
วิธีแก้ไข:ในบางครั้งจะจดจำการติดตั้งฮาร์ดแวร์ในตำแหน่งต่างไว้และทำการตรวจเช็คทุกครั้งที่เปิดเครื่องดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง หรือสลับตำแหน่งของสล็อตที่เสียบอุปกรณ์ต่างๆ เครื่องอาจจะเช็คว่าเกิดความผิดผลาดได้ โดยที่จริง ๆ แล้วไม่ได้มีอุปกรณ์ใด ๆเสียเลยแต่เพราะเครื่องได้จดจำข้อมูลตำแหน่งของสล็อต ที่เสียบ ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ไว้ แต่ยังไม่ได้ทำการอัพเดทหรือ รีเฟรช (Refresh ) ทำให้เมื่อเปิดเครื่องแล้วถึงขั้นตอนการตรวจสอบ เครื่องจะฟ้องว่าฮาร์ดแวร์ผิดผลาด วิธีแก้คือ ให้ลองสบับแถวของ RAM แล้วลองเปิดเครื่องใหม่ เพื่อให้เครื่องจดจำตำแหน่ง หรือ Reset ไบออส โดยการถอด ถ่านของไบออสบนเมนบอร์ดออกสักครู่หนึง แล้วกลับเข้าไปใหม่ จากนั้นลองเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง
6. RAM เสีย
วิธีแก้ไข : ให้ลองนำ RAM ตัวอื่นที่ใช้ได้มาเสียบแทนในช่องเดียวกัน ถ้าหากใช้ได้แสดงว่า RAM เสีย ถ้า RAM เสียก็ต้องซื้อมา เปลี่ยนสถานเดียว เปิดเครื่องแล้ว
แต่ Test Memory (RAM) ไม่ผ่านมีสาเหตุดังนี้
1. สล็อตเสียบ RAM เสียหรือเสียมคุณภาพ
วิธีแก้ไข : เป็นไปได้ที่เมื่อใช้ไปแล้ว สล็อตเสียบ RAM เสื่อมคุณภาพ ให้ลองย้าย RAM ไปใส่ในสล็อตอื่นแล้วลองบู๊ตเครื่องใหม่
2. RAM เสียหรือเสียมคุณภาพ
วิธีแก้ไข : ให้ลองนำ RAM ตัวอื่นที่ใช้ได้มาเสียบแทนในช่องเดียวกันถ้าผ่านแสดงว่า RAM เสีย ก็ต้องซื้อมาเปลี่ยนใหม่
ใช้แล้วเครื่องแฮงก์ง่ายมีสาเหตุดังนี้
1. อาจเกิดจากการตั้งค่าความถี่ที่ใช้กับ RAM ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ดูที่สเปค (Spec) ของ RAM สามารถทำงานที่ความถี่เท่าไร และให้ตั้งให้ถูกต้อง โดยเซ็ทที่ BIOS หรือเมนบอร์ด บางรุ่นต้องเซ็ทที่ Jumper บนเมนบอร์ด โดยสามารถดูรายละเอียดจากคู่มือของเมนบอร์ดนั้นๆ ได้
2. อาจเกิดจากการตั้งค่าการหน่วงเวลา (Wait state) ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : กลับไปตั้งค่าให้ถูกต้องเหมือนเดิม หรือตั้งค่าเป็นแบบ by SPD จะสะดวกที่สุด
3. อาจเกิดจากการเลือกคุณสมบัติพิเศษ เช่น Fast page , EDO ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ควรศกษาคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ ให้เข้าใจอย่างละเอียดก่อนที่จะเลือกใช้คุณสมบัตินั้น ๆ ถ้าไม่แน่ใจให้แก้กลับมาที่ Load Detault Setup หรือ Disable เพราะถ้าเลือกใช้คุณสมบัติพิเศษ โดยที่ RAM ตัวนั้นไม่รองรับ ก็จะทำให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานได้
4. อาจเกิดจาก Clip RAM ร้อนเกินไป
วิธีแก้ไข : ในกรณีทีบางครั้ง RAM ทำงานหนักและเกิดอาการร้อนเกินไปจะทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้ ดังนั้นถ้าต้องการเสถียรภาพ ในการทำงานมากขึ้น เราควรปรับปรุงระบบระบายความร้อนภายในเครื่องคอมพ์ให้ดีขึ้น เช่น เพิ่มพัดลมระบายความร้อนภายในเครื่อง วางคอมพ์ไว้ในที่ที่มี อากาศถ่ายเทได้สะดวกหรือห้องแอร์ก็จะยิ่งดี
5. อาจเกิดจาก RAM เสื่อม
วิธีแก้ไข : RAM บางตัวที่ใช้งานไปนาน ๆ Clip บางตัวบน RAM อาจเสื่อมได้โดยที่เครื่องยังสามารถทำงานได้ตามปกติ แต่เมื่อเครื่อง ได้ใช้งานมาถึงตำแหน่งที่เสื่อมบนแรมตัวนั้น จะทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้ วิธีแก้คือ ลองถอด RAM ตัวที่คิดว่าเสื่อมออก และนำ RAM ตัวอื่นที่ดีมาใส่แทน และลองใช้งานดู ถ้าทำงานได้ตามปกติแสดงว่า RAM ตัวนั้นเสีย ให้ซื้อตัวใหม่มาเปลี่ยน หรือถ้าอยู่ในระยะประกันให้ลองเปลี่ยนตัวใหม่ แต่อาการแบบนี้ขอบอกว่าพิสูจน์ยากนิดนึง บางครั้งเราต้องรอจังหวะ
ขนาดของ RAM เมื่อใช้งานน้อยกว่าขนาดที่แท้จริงมีสาเหตุดังนี้
1. เสียบ RAM ที่มีขนาดเกินกว่าที่ช่องเสียบ RAM นั้นรับได้
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางตัวจะกำหนดขนาดของ RAM สูงสุดต่อแถวที่เสียบได้ในแต่ละช่องสล็อต ดังนั้นควรอ่านคู่มือของเมนบอร์ดดูก่อนว่าสล็อตใดเสียบ RAM ที่มีขนาดสูงสุดได้เท่าไร เช่น เมนบอร์ดบางรุ่น ช่องเสียบ RAM แถวที่ 1ใส่ RAM ได้สูงสุดไม่เกินแถวละ128 MB ถ้าเรานำ RAM ขนาด แถวละ 256 MB มาใส่เครื่องจะไม่สามารถรับได้หรือมองเห็นแค่เพียง 128 MB เท่านั้น
2. ขนาดของ RAM รวมทั้งหมดเกินกว่าที่เมนบอร์ดจะรับได้
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดทุกอันจะมีขนาดรวมของ RAM สูงสุดที่เมนบอร์ดรับได้ไม่ใช่ว่าจะสามารถซื้อ RAM มาใส่เท่าไรก็ได้ ควรอ่านคู่มือ ของเมนบอร์ดรุ่นนั้นด้วย
3. RAM บางส่วนถูกนำไปใช้ในด้านอื่น
วิธีแก้ไข : เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมนบอร์ดบางรุ่น ที่มีอุปกรณ์บางประเภท Onboard ซึ่งจะใช้หน่วยความจำร่วมกับ RAM ทำให้เมื่อเปิด ใช้งานเนื้อที่ของ RAM บางส่วนจะถูกจองไว้สำหรับใช้งานของอุปกรณ์ตัวนั้นโดยเฉพาะ จึงทำให้เวลาระบบปฏิบัติการแสดงผลขนาดของ RAM จะเหลือไม่เท่ากับ ขนาดที่แท้จริงของ RAM เช่น เมนบอร์ดบางรุ่นที่มี VGA Card Onboard และแจ้งว่ามี RAM ของ VGA Card ขนาด 16 MB แต่เมื่อใช้งานจะใช้เนื้อที่ของ RAM ที่เสียบลงไปบนเมนบอร์ด ดังนั้น ถ้าเราเสียบ RAM ขนาด 128 MB ลงไปบนเมนาบอร์ดจะเหลือ RAM ที่ใช้งานกับระบบจริงเพียง 128 MB คือ 112 MB
4. อาจเกิดจาก RAM เสื่อม
วิธีแก้ไข : เราสามารถดูตามอาการเสียของแรมที่ได้กล่าวมา ข้างต้น
RAM ที่มีความเร็วสูงแต่ทำงานที่ความเร็วต่ำ
1. เมนบอร์ดไม่สามารถรองรับ RAM ที่มีความเร็วสูงกว่าที่กำหนดได้
วิธีแก้ไข : ไม่สามารถแก้ได้ ถ้าต้องการให้ RAM ทำงานที่ความเร็วสูง ต้องซื้อเมนบอร์ดรุ่นที่รองรับได้ เช่น RAM ที่มีความเร็ว 133 MHz เมื่อนำมา ใส่เมนบอร์ดที่รองรับ RAM ที่มีความเร็วสูงสุดที่ 100 MHz RAM ตัวนั้นจะทำงานได้ที่ความเร็วแค่ 100 MHz
2. ไม่ได้ตั้งค่าที่ BIOS ให้ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : ที่ BIOS จะมีเมนูสำหรับตั้งค่าความเร็วของ RAM ที่เราต้องการให้เราไปปรับค่าให้ถูกต้องหรือให้เลือกเป็น Auto
3. ไม่ได้เซ็ทค่าจั๊มเปอร์บนเมนบอร์ด
วิธีแก้ไข : เมนบอร์ดบางรุ่นจะมีการเซ็ทความถี่ของ RAM ที่จั๊มเปอร์บนเมนบอร์ดด้วย ให้ศึกษาด้วย ให้ศึกษาและเซ็ทตามคู่มือเมนบอร์ด

สาเหตุ และ การแก้ไขปัญหาอาการเสียที่เกิดจากเมนบอร์ด
เมนบอร์ด (Mainboard) เป็นแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นแผ่นเซอร์กิต PCB (Print Circuit Board) ใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคต่าง ๆ รวมทั้ง ซีพียู, หน่วยความจำหรือ RAM และแคช (Cache) ซึ่งหน่วยความจำความเร็วสูงสำหรับพักข้อมูลระหว่างซีพียูและแรม อุปกรณ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งอยู่บนเมนบอร์ดได้แก่ ชิปเซ็ต (Chipset) ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กจำนวนหลายล้านตัว ผลิตด้วยเทคโนโลยีการทำงานระหว่างอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เมนบอร์ดแต่ละยีห้อและแต่ละรุ่นมีคุณสมบัติต่างกัน นอกจากนี้บนเมนบอร์ดยังมีช่องสำหรับเสียบการ์ดเพิ่มเติมที่เรียกว่า สล็อต (Slot) ซึ่งการ์ดจอ, การ์ดเสียง ฯลฯ ต่างก็เสียบอยู่บนสล็อต นอกจากนี้เมนบอร์ดในปัจจุบัน ยังได้รวมเอาส่วนควบคุมการทำงานต่าง ๆ ไว้บนตัวเมนบอร์ดอีกด้วย ได้แก่ ส่วนควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Harddisk Controller), พอร์ตอนุกรม (Serial Port), พอร์ตขนานหรือพอร์ตเครื่องพิมพ์ (Printer Port), พอร์ต PS/2, USB(Universal Serial Bus) รวมทั้ง Keyboard Controller สำหรับอุปกรณ์อื่นที่มีมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดเมนบอร์ดได้แก่ ROM BIOS และ Real-Time Clock เป็นต้น
อาการเสียที่เกิดจากเมนบอร์ด เมนบอร์ดเป็นที่รวมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งภายในคอมพิวเตอร์จึงมีปัญหาต่อเนื่องเกี่ยวพันกับอุปกรณ์อื่นเช่น ซีพียู แรม หรือการ์ดติดตั้งต่าง ๆ สำหรับปัญหาที่ผู้ใช้มักพบเห็นที่เกี่ยวกับเมนบอร์ดดังนี้
• ปัญหาที่ 1 รู้ได้อย่างไรว่าเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ รองรับอุปกรณ์ Onboard อะไรบ้างวิธีแก้ หากอยากรู้ว่าคอมพิวเตอร์หรือเมนบอร์ดที่ใช้อยู่มีอุปกรณ์ Onboard อะไรแถมมาด้วยก็ไม่ยาก โดยให้ดูที่ด้านท้ายเคสซึ่งจะมีพอร์ตสำหรับต่อเมาส์ และย์บอร์ด ถ้าหากเมนบอร์ดมีอุปกรณ์ Onboard อื่นให้มาด้วยก็จะมีพอร์ตสำหรับอุปกรณ์นั้นเช่น พอร์ต Modem, Lan, VGA, Sound คือถ้าพบมีพอร์ตดังกล่าวอยู่ท้ายเคสก็ให้เสียบใช้งานได้ทันที
• ปัญหาที่ 2 การ์ดจอ Onboard เสียจะทำอย่างไรปัญหานี้จะแสดงอาการออกมาในลักษณะเปิดเครื่องได้เห็นไฟเข้าเครื่องทำงานปกติแต่หน้าจอจะไม่มีภาพอะไรเลย ผู้ใช้หลายคนนึกว่าเมนบอร์ดเสีย จึงไปหาซื้อเมนบอร์ดมาเปลี่ยนใหม่ทำให้สูญเสียเงินไปโดยใช่เหตุสาเหตุ เป็นเพราะระบบแสดงผลของชิปเซ็ตบนเมนบอร์ดเสีย ทำให้ไม่มีภาพปรากฏบนหน้าจอวิธีแก้ ให้ทำการจัมเปอร์บนเมนบอร์ดเป็น Disable หรือกำหนดค่าในไบออสให้เป็น Disable ขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนบอร์ด แล้วนำการ์ดจอมาติดตั้งลงในสล็อต AGP แทน หากเป็นรุ่นที่ไม่มีสล็อต AGP ก็คงต้องหาซื้อการ์ด PCI มาติดตั้งแทน
• ปัญหาที่ 3 เมนบอร์ดมีการ์ดเสียง Onboard ไม่ทำงานปัญหานี้มีลักษณะคล้ายกับปัญหาการ์ดจอ Onboard แต่ส่วนใหญ่การ์ดเสียง Onboard ที่มีปัญหาใช้งานไม่ได้สาเหตุ
1. ยังไม่ได้กำหนดให้ใช้งานวงจรเสียงได้จากไบออส
2. ยังไม่ติดตั้งไดรเวอร์สำหรับวงจรเสียงดังกล่าว
3. อาจเป็นส่วนของวงจรเสียงในชิปเซ็ตเสีย
วิธีแก้ 1. กำหนดค่าในไบออสโดยเลือกหัวข้อ Integrated Peripherals
2. เลือกหัวข้อ Onboard Hardware Audio และกำหนดค่าเป็น Enabled
3. Save ค่าไว้และออกจากไบออสบู๊ตเครื่องใหม่
4. ใช้แผ่นไดรเวอร์เมนบอร์ดติดตั้งไดรเวอร์เสียงลงใน Windows
5. หากติดตั้งแล้วใช้การไม่ได้แสดงว่าส่วนวงจรเสียงเสีย ให้ Disabled ยกเลิกการใช้งานในไบออส แล้วหาซื้อการ์ดเสียงมาติดตั้งใหม่
• ปัญหาที่ 4 จะติดตั้งพอร์ต USB ของตัวเครื่องเข้ากับเมนบอร์ดได้อย่างไรสาเหตุ เมนบอร์ดทั้วไปมักจะมีพอร์ต USB ติดตั้งมาให้จำนวน 2 พอร์ต โดยจะมีขั้วพอร์ต USB ให้อีก 1 ช่องสำหรับต่อพอร์ต USB ได้อีก 2 พอร์ต ซึ่งพอร์ตต่อเพิ่มพอร์ต USB มักเป็น Options เสริมที่ต้องซื้อเพิ่มเอาเองแต่ในตัวเคสรุ่นใหม่ที่ด้านหน้าหรือด้านข้างมักจะมีพอร์ตเสริม USB มาให้อีก 2 พอร์ตวิธีแก้ การติดตั้งพอร์ตเสริม USB ของตัวเคสจำนวน 2 พอร์ต เพื่อให้ใช้งานได้จะต้องนำสายสัญญาณและสายจ่ายไฟจำนวน 8 เส้นมาเสียบต่อเข้ากับช่องต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ดโดยจะต้องดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้ยอย่าเสียบผิดสายเพระสาย USB จะมีไฟเลี้ยงอยู่ด้วย จะทำให้อุปกรณ์ต่อพ่วงเสียหายได้
สำหรับขั้นตอนการติดตั้งพอร์ต USB ตัวเครื่องเข้ากับเมนบอร์ดดังนี้
1. เปิดฝาเครื่องออกมาและหาตำแหน่งขั้วต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ด โดยที่ขา 1 จะมีเส้นทึบสีขาวขีดคร่อมอยู่
2. นำสายสัญญาณและสายจ่ายไฟพอร์ต USB จากเมนบอร์ดมาเรียงไว้ โดยสายจะมี 2 ชุด ๆ ละ 4 เส้น
3. นำสายทั้ง 2 ชุดเสียบเข้ากับขั้วต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ดโดยดูจากคู่มือเมนบอร์ดประกอบกันด้วยอย่าสลับสายกันเป็นอันขาด
• ปัญหาที่ 5 ใช้งานพอร์ต USB 2.0 ผ่านเครื่องพิมพ์ ไม่เห็นความเร็วเพิ่มขึ้นสาเหตุ พอร์ต USB 2.0 เป็นพอร์ตมาตรฐานเพิ่งออกมาใหม่ รองรับความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 480 Mbps หรือเร็วกว่าพอร์ต USB 1.1 ถึง 40 เท่าแต่ใช่ว่าเมื่อเมนบอร์ดรองรับพอร์ต USB 2.0 แล้วจะสามารถใช้งานได้เลย ต้องทำการติดตั้งไดรเวอร์ของ USB 2.0 ให้ถูกต้องเสียก่อนวิธีแก้ สำหรับวิธีการตรวจดูว่าคอมพิวเตอร์ของเรา ได้ติดตั้งและใช้ความสามารถของพอร์ต USB 2.0 แล้วหรือยังมีดังนี้
1. ใน Windows XP ให้คลิกปุ่ม Start>Control Panel>Switch to classic view
2. ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน system
3. คลิกแท็ป Hardware
4. คลิกปุ่ม Device Manager
5. คลิกเครื่องหมาย + หน้า Universal Serial Bus controllers จะพบว่ามีแต่ไดรเวอร์ของ USB 1.1 ติดตั้งไว้เท่านั้น สำหรับ USB 2.0 ยังไม่ได้ติดตั้ง (มีเครื่องหมายตกใจสีเหลืองหน้าตัว Universal Serial Bus (USB) Controller
6. ให้ติดตั้งไดรเวอร์ USB 2.0 โดยการคลิกเมาส์ขวาที่ตัว Universal Serial Bus (USB) Controller และเลือก Update Driver…
7. เมื่อปรากฏหน้าจอให้ Update Driver ให้ใส่แผ่นซีดีรอมไดรเวอร์ของเมนบอร์ดเข้าเครื่องและคลิกเลือกหัวข้อ Install the software automatical ly และดำเนินการตามขั้นตอนที่ปรากฏหน้าจอต่อไป
8. ในขั้นตอนที่ 6 หากต้องการติดตั้งไดรเวอร์ USB จากแผ่นไดรเวอร์เมนบอร์ดโดยตรงก็สามารถทำได้โดยใส่แผ่นไดรเวอร์เข้าไปในเครื่องเพื่อให้รันโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะปรากฏหน้าจอให้เลือกข้อ VIA USB 2.0 Driver และดำเนินการไปตามข้นตอนที่ปรากฏบนหน้าจอไปจนเสร็จสิ้น หลังจากนั้นจะบู๊ตเครื่องขึ้นมาใหม่
9. ให้เข้าไปตรวจสอบสถานะของไดรเวอร์ USB 2.0 ว่าได้รับการติดตั้งแล้วหรือไม่โดยเข้าไปที่ Control Panel ซึ่งจะพบว่ามีไดรเวอร์ของ USB 2.0 ได้รับการติดตั้งแล้วคือ USB 2.0 Root Hub และ VIA USB 2.0 Enchanced Host Controller เพียงเท่านี้เมื่อมีการใช้งานพอร์ต USB 2.0 เช่น สั่งพิมพ์งานเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์งานเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ผ่านพอร์ต USB 2.0 งานพิมพ์แทบจะวิ่งออกมาทีเดียว
• ปัญหาที่ 6 เปิดสวิทซ์แล้วเครื่องไม่ทำงานใด ๆ เลยไฟก็ไม่ติด ไม่มีเสียงร้อง
สาเหตุที่ 1 ปลั๊ก Power Supply หลวมวิธีแก้ ให้ลองขยับปลั๊ก Power Supply ทั้งทางด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์และที่เต้าเสียบให้แน่น
สาเหตุที่ 2 อาจเป็นที่ Power Supply เสียวิธีแก้ ให้ลองตรวจเช็คว่ามีไฟฟ้าออกจาก Power Supply ถูกต้องหรือไม่วิธีสังเกต ถ้าเป็นสายไฟสีแดงจะมีค่า +5 Volt ถ้าเป็นสายสีเหลืองจะมีค่า +12 Volt หรืออาจสังเกตง่าย ๆ ขั้นต้นว่าเมื่อเปิดสวิทซ์นั้นพัดลมที่ติดอยู่กับ Power Supply หมุนหรือไม่ และเป็นไปได้ที่บางครั้ง Power Supply อาจจะเสียแต่พัดลมยังหมุนอยู่ เราอาจจะลองนำ Power Supply ตัวอื่นที่ไม่เสียมาลองเปลี่ยนดูก็ได้ ถ้าเสียก็ซื้ออันใหม่มาเปลี่ยน เอาแบบวัตต์สูง ๆ ก็จะดี
สาเหตุที่ 3 เป็นที่เมนบอร์ดเสียวิธีแก้ ถ้า Power Supply ไม่เสียมีไฟเลี้ยงเข้าเมนบอร์ดตามปกติ ให้ลองเช็คโดยการถอดการ์ดต่าง ๆ และ RAM ออกหมด ถ้าเปิดเครื่องแล้วไม่มีเสียงร้องแสดงว่าเมนบอร์ดหรือ CPU เสีย แต่ถ้ามีเสียงร้องแสดงว่าอุปกรณ์บางตัวที่ถอดออกไปเสีย และถ้าหากเมนบอร์ดเสียให้ส่งที่ร้านซ่อมหรือซื้อเมนบอร์ดใหม่
สาเหตุที่ 4 CPU หลวมวิธีแก้ ส่วนใหญ่เหตุการณ์นี้มักเกิดขึ้นกับซีพียูประเภทซ็อคเก็ตสล็อตวัน (Slot 1) และซ็อคเก็ตสล็อตทู (Slot 2) เช่น เพนเทียมทู เป็นต้น ให้เราปิดฝาเครื่องและลองขยับซีพียูที่ดูเหมือนแน่นอยู่แล้วให้แน่นขึ้นไปอีก
สาเหตุที่ 5 CPU เสียวิธีแก้ ลองหา CPU ตัวใหม่มาลองเปลี่ยนแทน ถ้าใช้ได้ละก็แสดงว่าตัวเก่าเสียแน่นอน
สาเหตุที่ 6 เป็นที่อุปกรณ์บางตัวเสียทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรวิธีแก้ ให้ลองใส่ตรวจเช็คทีละตัว
• ปัญหาที่7 เปิดเครื่องแล้วมีเสียงร้องแต่ไม่ยอมทำงานใด ๆ
สาเหตุที่ 1 อุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดหลวมวิธีแก้ ถ้าอุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดหลวม จะทำให้กระบวนการเช็คค่าเริ่มต้น (POST) ของ BIOS ฟ้องค่าผิดพลาด ให้เราเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ด
สาเหตุที่ 2 อุปกรณ์บางตัวที่อยู่บนเมนบอร์ดต่อไม่ถูกต้องวิธีแก้ ส่วนใหญ่มักเกิดกับ RAM ปกติเมื่อเราเปิดเครื่องแล้วมีปัญหาไม่สามารถแสดงภาพออกทางหน้าจอในตอนเริ่มต้นได้ Bios จะพยายามแจ้งอาการเสียผ่านทางเสียงร้องออกทางลำโพงที่อยูภายในเครื่องคอมพ์ ให้เราเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ด
สาเหตุที่ 3 อุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดเสียวิธีแก้ ให้เราลองเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ดดู
สาเหตุที่ 4 Chip บนเมนบอร์ดบางตัวเสียวิธีแก้ ให้ลองไปดูเครื่อง Beep Code และถ้าสาเหตุมาจาก Chip บนเมนบอร์ดให้ไปส่งร้านซ่อมเพื่อเปลี่ยน Chip หรือต้องซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่ถ้าไม่มีอะไหล่
• ปัญหาที่ 8 เครื่องทำงานพื้นฐานตามปกติได้แต่ไม่สามารถใช้อุปกรณ์บางตัวได้ โดยที่อุปกรณ์ตัวนั้นไม่ได้เสีย
สาเหตุที่ 1 Chip บางตัวบนเมนบอร์ดเสียวิธีแก้ ให้ลองไปดูเรื่อง Beep code และถ้าสาเหตุมาจาก Chip บนเมนบอร์ดให้ไปส่งร้านซ่อมเพื่อเปลี่ยน Chip หรือต้องซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่ถ้าไม่มีอะไหล่
สาเหตุที่ 2 สล็อตหรือพอร์ตบางพอร์ตบนเมนบอร์ดเสียวิธีแก้ ลองเปลี่ยนการ์ดตัวนั้นไปเสียบสล็อตอื่นที่เหลือแทน แล้วลองทดสอบตามปกติ ถ้าเหมือนเดิมส่งร้านซ่อมหรือซื้อเมนบอร์ดใหม่
สาเหตุที่ 3 เกิดการ Conflict กับอุปกรณ์ตัวอื่นวิธีแก้ เข้าไปที่ Device Manager ให้สังเกตว่ามีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) แสดงว่าที่อุปกรณ์ตัวนั้นมีปัญหา ได้ดับเบิ้ลคลิกที่อุปกรณ์ตัวนั้นเพื่อเข้าสู่ Properties จากนั้นลองแก้ไขค่า Resources ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ซ้ำกับอุปกรณ์ตัวอื่นครับ
สาเหตุที่ 4 ไม่ได้ลงไดรเวอร์วิธีแก้ ให้ทำการติดตั้งไดรเวอร์ลงไป โดยไดรเวอร์มักจะแถมมากับอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ หรือถ้าหาไม่ได้ให้ลองดาวน์โหลดไดรเวอร์จากเว็บไซต์ผู้ผลิตดู
สาเหตุที่ 5 ลงไดรเวอร์ผิดรุ่นวิธีแก้ ในบางครั้งที่ระบบปฏิบัติการจะตรวจสอบชนิดและรุ่นของอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ โดยอัตโนมัติ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ผลของการตรวจสอบจะคลาดเคลื่อน ทางที่ดีควรตรวจเช็คให้แน่ว่ารุ่นของอุปกรณ์ตรงกับไดรเวอร์ที่ลงหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจให้ลงไดรเวอร์จากแผ่นโปรแกรมที่มาพร้อมกับเครื่อง
• ปัญหาที่ 9 คอมพิวเตอร์แฮงก์บ่อย ๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้
สาเหตุที่ 1 อาจเกิดจากไวรัสคอมพิวเตอร์วิธีแก้ ลองใช้โปรแกรม Antivirus เวอร์ชั่นอัพเดทตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด
สาเหตุที่ 2 คุณภาพเมนบอร์ดไม่ถึงมาตรฐานวิธีแก้ อาจเป็นเพราะคุณภาพของเมนบอร์ดไม่ถึงมาตรฐานของโรงงาน ซึ่งโดยมากมักเกิดกับเมนบอร์ดที่เพิ่งซื้อมาใหม่ ให้เอาไปเปลี่ยน
สาเหตุที่ 3 ไฟล์ระบบปฏิบัติการชำรุดวิธีแก้ ถ้ามั่นใจแล้วว่าไม่ได้เกิดจากไวรัสและสาเหตุอื่น ๆ ให้เรา Backup ข้อมูล ฟอร์แมต แล้วลงระบบปฏิบัติการและโปรแกรมใหม่ทั้งหมด
• ปัญหาที่ 10 เวลาบู๊ตเครื่องต้องกด ทุกครั้งสาเหตุ พบความผิดพลาดขณะทำการตรวจสอบระบบเรียกว่า Post (Power On Self Test)วิธีแก้ เมื่อขณะเปิดเครื่อง Bios จะทำการตรวจสอบระบบเรียกว่า Post (Power On Self Test) ถ้าพบผิดพลาดจะมีข้อความแจ้งให้ผู้ใช้ทราบและหยุดรอผู้ใช้กด เพื่อทำงานต่อ ซึ่งข้อผิดพลาดส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เราตั้งค่าใน Bios ว่ามีอุปกรณ์บางอย่างอยู่ในเครื่องซึ่งไม่มีอยู่จริง เมื่อ Bios ว่ามีอุปกรณ์บางอย่างอยู่ในเครื่องซึ่งไม่มีอยู่จริง เมื่อ Bios ค้นหาอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วไม่พบ อุปกรณ์ดังกล่าวจึงแจ้งความผิดพลาดให้เราทราบ ซึ่งเราอาจเข้าไปแก้ค่าต่าง ๆ ใน Bios ให้ตรงกับความจริง ปัญหาที่ Bios ก็จะหายไปเอง
• ปัญหา 11 หลังจากที่เปิดเครื่องแล้วมีแต่เสียงปี๊บ ยาวๆ เกิดขึ้นและเครื่องก็ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ วิธีแก้ ตามปกติเมื่อเปิดเครื่องแล้วคุณจะได้ยินเสียงดังปี๊บสั้นๆ หนึ่งครั้ง ซึ่งเสียงนี้สื่อให้คุณรู้ว่าระบบทุกอย่างอยู่ในสภาพปกติ ไม่มีอะไรผิดพลาด ขึ้นกับอุปกรณ์ตัวหนึ่งตัวใดในเครื่องแล้ว ซึ่งกรณีนี้ส่วนใหญ่ มักเกิดจากการลืมติดตั้งการ์ดแสดงผล หน่วยความจำติดตั้งไม่แน่นหรือไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม เสียงที่เกิดขึ้นนี้มีหลากหลายรูปแบบคุณจะต้องแยกให้ออก ว่าเสียงนั้นดังอย่างไร จากตัวอย่างเช่น สั้นสลับยาวหรือดังยาวๆ เพียงครั้งเดียว นอกจากนี้เมนบอร์ดที่ใช้ไบออสต่างยี่ห้อกันเสียงที่เกิดขึ้นก็จะบ่งบอกสาเหตุของปัญหาที่แตกต่างกันไปอีกด้วยสรุปอาการเสียและการแก้ไขปัญหายอดฮิตของคอมพิวเตอร์ อาการเสียของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลายสาเหตุ สามารถวิเคราะห์อาการเสียเบื้องต้นได้ดังนี้อาการ บูตเครื่องขึ้นมาแล้ว ทุกอย่างไม่ทำงานและเงียบสนิท ให้ตรวจสอบที่พัดลมด้านท้ายเครื่องว่าหมุนหรือไม่ หากไม่หมุนอาจเป็นไปได้ว่าปลั๊กไฟเสีย หรืออาจขาดใน และให้เข้าไปเช็คที่ฟิวส์ของเพาเวอร์ซัพพลาย หากฟิวส์ขาดให้ซื้อฟิวส์รุ่นเดียวกันมาเปลี่ยน แต่ถ้าเพาเวอร์ซัพพลายเสีย ควรแนะนำลูกค้าให้เปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายใหม่ อาการ บูตเครื่องแล้วจอมืด แต่ไฟ LED หน้าจอและไฟเคสติด ให้ตรวจสอบที่ปุ่มการปรับสีและแสงที่หน้าจอก่อน จากนั้นจึงเช็คในส่วนของขั้วสายไฟ และขั้วสายสัญญาณระหว่างเคสและจอภาพ หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะเสียบการ์ดจอไม่แน่นหากตรวจเช็คอาการเหล่านี้แล้ว ทุกอย่างเป็นปกติดีสาเหตุน่าจะเกิดจากการ์ดแสดงผล และจอภาพ ให้นำอุปกรณ์ทั้ง 2 ตัวไปลองกับอีก เครื่องหนึ่งที่ทำงานเป็นปกติ หากการ์ดแสดงผลเสียต้องส่งเคลมหรือให้ลูกค้าเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าเป็นจอภาพ ให้ตรวจเช็คอาการอีกครั้ง ถ้าซ่อมได้ก็ควรซ่อม อาการ บูตเครื่องแล้วมีไฟที่หน้าเคสและไฟฟล็อบปี้ไดรฟ์ แต่จอมืดและทุกอย่างเงียบสนิท ให้ตรวจสอบที่การเชื่อมต่อระหว่างขั้วต่อสายไฟของเพาเวอร์ซัพพลายกับเมนบอร์ดถูกต้องหรือไม่ หลุดหลวมหรือเปล่าตรวจสอบสายแพที่เชื่อมต่อกับขั้วต่อ IDE ของฮาร์ดดิสก์, ฟล็อบปี้ดิสก์ และซีดีรอม ถูกต้องหรือไม่ หลุดหลวมหรือไม่ ตรวจสอบการติดตั้งซีพียูว่าใส่ด้านถูกหรือไม่ ซีพียูเสียหรือไม่ ตรวจสอบจัมเปอร์หรือดิปสวิทช์ และการเข้าไปเปลี่ยนแปลงค่าในไบออสว่ามีการกำหนดค่าที่ถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะค่าแรงดันไฟ Vcore อาการ ที่จอภาพแสดงข้อความผิดพลาดว่า HDD FAILURE ตรวจสอบการตั้งค่าในไบออสว่าถูกต้องหรือไม่ ตรวจสอบขั้วต่อ IDE ว่ามีการเสียบผิดด้านหรือไม่ หลุดหลวมหรือเปล่า ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ว่าเสียหรือไม่ โดยเข้าไปในเมนูไบออส และใช้หัวข้อ IDE HDD Auto Detection ตรวจหาฮาร์ดดิสก์ ถ้าไม่เจอแสดงว่าฮาร์ดดิสก์มีปัญหาแต่หากเจอแสดงว่าฮาร์ดดิสก์ปกติดีอาการ เมื่อบูตเครื่องขึ้นมาแล้วมีสัญญาณเตือนดัง บี๊บ...........บี๊บ ควรตรวจสอบแรมว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่ ติดตั้งดีแล้วหรือยัง วิธีแก้ไขให้ถอดแล้วเสียบใหม่ ตรวจสอบการติดตั้งการ์ดต่างๆ บนเมนบอร์ดว่าติดตั้งดีแล้วหรือยัง วิธีแก้ไขให้ถอดแล้วเสียบใหม่ ตรวจสอบซีพียูและการเซ็ตจัมเปอร์ว่าถูกต้องหรือไม่ วิธีแก้ไขเซ็ตจัมเปอร์ใหม่โดยตรวจเช็คจากคู่มือเมนบอร์ด

แนวทางการตรวจสอบและแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์
การตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเครื่องพีซี
การทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นไม่ได้หมายว่าใช้งานเป็นแต่เพียงอย่างเดียวแค่นั้นพอ ในบางครั้งบางคราวที่เครื่องมือมีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้น บางปัญหาอาจจะเกิดจากสาเหตุเล็กๆ น้อยๆ ที่ซึ่งบางที่เราอาจนึกไม่ถึง หรือด้วยความที่เราไม่รู้วิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเลย อาจจะทำให้งานของเราล่าช้าหรือต้องเสียเงินค่าซ่อมแซมแพงๆ โดยไม่จำเป็น จึงขอกล่าวถึงวิธีการในการตรวจสอบอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซึ่งมักจะพบเห็นบ่อยๆ พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง ตลอดจนถึงการดูแลรักษาเครื่องให้อยู่กับเราไปได้อีกนานๆ
การแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์
ในการแก้ไขปัญหาของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
- ปัญหาทางด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นจากตัวอุปกรณ์เองชำรุด หรือทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจจะชำรุดมาตั้งแต่โรงงานผู้ผลิตแล้วก็เป็นได้ ดังนั้นจึงต้องมีการรับประกันสินค้าทุกชิ้นตอนซื้อ แต่ในบางครั้งปัญหาเหล่านี้ก็อาจจะเกิดขึ้นจากตัวเราเอง เช่น เสียบอุปกรณ์ผิดหรือปรับแต่งอุปกรณ์ในการทำงานเกินขีดจำกัด เป็นต้น
- ปัญหาทางด้านซอฟต์แวร์ (Software) คือ ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นจากตัวโปรแกรมเองทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาได้ทั้งตัวระบบปฏิบัติการ (OS) และโปรแกรมใช้งานทั่วๆ ไป เช่น ตัวโปรแกรมอาจจะไม่สมบูรณ์ , โปรแกรมที่ใช้งานไม่สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการที่ใช้อยู่ หรือถูกไวรัสเข้าไปทำลาย
- ปัญหาทางด้านของผู้ใช้งานเอง (Users) คือ ปัญหาที่มักจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ เช่น การ Overclock CPU และการลองผิดลองถูกต่างๆ
ข้อสังเกตลักษณะและอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์
ในกรณีที่เครื่องมีปัญหาขึ้นมานั้น จะมีสิ่งบอกเหตุและข้อสังเกตอยู่หลายประการด้วยกัน ซึ่งทำให้เราสามารถทราบและวิเคราะห์อาการเบื้องต้นได้ ว่ามีปัญหามาจากสาเหตุใด จุดที่ใช้สังเกตอาการเสียของคอมพิวเตอร์หลักๆ มีอยู่ 4 จุด คือ
จุดที่ 1 เสียงเตือนจากไบออสเมื่อเครื่องมีความผิดปกติหรือเสียง Beep Code เสียงนี้เป็นเสียงเตือนที่จะได้ยินเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเครื่องจะทำการทดสอบการทำงานของตัวมันเอง และแจ้งความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อเราเปิดเครื่อง กระบวนการนี้เรียกว่า การ POST (Power-On Self Test) ซึ่งเมื่อเครื่องตรวจพบปัญหา หรือไม่พบก็ตามเครื่องจะส่งเสียงแจ้งเตือนให้ทราบ เป็นเสียงสั้นบ้าง ยาวบ้าง โดยเราจะต้องสังเกตและฟังให้ดี สัญญาณเสียงที่เกิดขึ้นเมื่อนามาถอดรหัสแล้วจะทำให้เราทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด โดยสัญญาณเสียงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละยี่ห้อไบออสที่อยู่บนเมนบอร์ด ซึ่งมีจุดสังเกตที่ยี่ห้อไบออส และอื่น ๆ
จุดที่ 2 ข้อความเตือนที่ปรากฏบนหน้าจอเวลาเปิดเครื่อง หรือ Error Message ในขั้นตอนของกระบวนการตรวจสอบความผิดปกติของเครื่อง หรือการ POST นั้น นอกจากจะตรวจสอบและแจ้งเตือนความผิดปกติด้วยเสียงแล้ว ในบางปัญหาก็ยังแจ้งเป็นข้อความไปปรากฏบนหน้าจอด้วย (หากยังสามารถแสดงผลบนหน้าจอได้อยู่ ในลักษณะข้อความตัวหนังสือสีขาว พื้นหน้าจอสีน้ำเงิน ) ซึ่งเราเรียกว่า "Error Message" ตัวอย่างข้อความเตือนต่อไปนี้
CMOS checksum ErrorCMOS BATTERY State LowHDD Controller Failure ข้อความต่าง ๆ ที่แจ้งบนหน้าจอเหล่านั้นเราเรียนกันว่า Error Message เราสามารถที่จะจดข้อความนั้นแล้วทำการแปลออกมา เพื่อหาจุดที่ผิดพลาดได้อย่างง่ายดาย ซึ่งข้อความเหล่านั้นหากเกิดขึ้นเราก็ไม่ควรมองข้าม ถึงแม้ว่าเรายังสามารถที่จะเข้าสู่ระบบได้ตามปกติก็ตาม
จุดที่ 3 หลอดไปแสดงสถานะบนเมนบอร์ด บนเมนบอร์ดบางยี่ห้อจะมีหลอดไปแสดงสถานการณ์ทำงานบนเมนบอร์ด (Diagnostic LED) ติดมาด้วย เพื่อช่วยในการตรวจสอบและแสดงสถานะในตอนเปิดเครื่องว่าเครื่องมีปัญหาหรือไม่ โดยอาจจะแสดงออกมาเป็นรหัสตำแหน่งของหลอดไป LED เขียว / แดง 4-5 ดวง หรือเป็นลักษณะบอกเป็นตัวเลขฐาน 16 ก็ได้ โดยในการถอดรหัสสีหลอดไฟ LED และถอดรหัสตัวเลขฐาน 16 จำเป็นต้องอาศัยดูจากคู่มือเมนบอร์ดที่ให้มา เพื่อดูว่ารหัสเหล่านั้นหมายถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด เพื่อจะได้แก้ไขต่อไป
จุดที่ 4 หลอดไฟแสดงสถานะที่หน้าเครื่อง หลักการในการสังเกตความผิดปกติของเครื่องด้วยวิธีนี้ จะเป็นวิธีที่ไม่ได้ครอบคลุมถึงความผิดปกติของเครื่องทั้งหมดเหมือนวิธีก่อนๆ แต่วิธีนี้เป็นการสังเกตขั้นพื้นฐานอย่างง่ายๆ เพียงแค่ดูจากหลอดไป LED หน้าเครื่อง ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีอยู่ 2 ดวง ดวงแรกสีเขียวหรือ Power LED ส่วนอีกดวงคือสีแดงหรือส้ม ซึ่งก็คือ H.D.D. LED หลอดไฟ LED (สีเขียว) หรือ Power LED เป็นหลอดไฟที่ต่อมาจากขั้วต่อบนเมนบอร์ด โดยปกติไฟนี้จะดับอยู่ในขณะที่ไม่ได้เปิด แต่หลังจากเปิดเครื่องแล้วไฟดวงนี้จะติดอยู่ตลอดเวลา เพื่อบอกให้รู้ว่าตอนนี้เครื่องกำลังทำงานอยู่ ดังนั้นถ้าเปิดเครื่องแล้วหลอดไฟดวงนี้ไม่ติดแสดงว่าไฟไม่เข้าเมนบอร์ด หลอดไฟ LED (สีแดงหรือส้ม) หรือ H.D.D. LED เป็นหลอดไฟที่ต่อมาจากขั้วต่อบนเมนบอร์ดเช่นกัน ไฟนี้จะติดก็ต่อเมื่อฮาร์ดดิสก์ (ซีดีรอม) ทำงาน หรือมีการอ่านเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ แต่ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์ไม่ได้ทำงานอยู่ไฟดวงนี้จะดับ หรือถ้าไฟดวงนี้ติดค้างอยู่ตลอดเวลาก็แสดงว่ามีปัญหาในการทำงานของฮาร์ดดิสก์
ปัญหาทางด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ปัญหาทางด้านฮาร์ดแวร์นั้นเป็นปัญหาสำคัญที่ถือได้ว่าน่าหนักใจที่สุด เพราะปัญหาเหล่านี้โดยส่วนมากเมื่อเกิดขึ้นแล้วหลายครั้งที่จำเป็นต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ ซึ่งถ้าอุปกรณ์เหล่านั้นยังอยู่ในระยะประกันก็ไม่น่าหนักใจอะไร แต่ถ้าหมดประกันต้องต้องเสียเงินค้าซ่อมหรือไม่ก็ต้องซื้อใหม่สถานเดียว ทีนี่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เราจะมีวิธีการหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไรบ้าง คำตอบต้องแยกแยะไปตามสถานการณ์ดังนี้
แนวทางในการแก้ไข
ข้อแนะนำและแนวทางในการปฏิบัติเมื่อเกิดปัญหา
- เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา อย่าตื่นตกใจ พยายามในเย็นๆ ค่อยๆ แก้ปัญหา มองจากง่ายไปหายาก
- พยายามวิเคราะห์หาจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นว่าน่าจะมาจากสาเหตุใดหรืออุปกรณ์ตัวใดมากที่สุด เช่น ไม่มีภาพมาปรากฏที่หน้าจอและหลอดไฟแสดงผลที่หน้าจอเป็นสีส้ม แสดงว่าจอภาพทำงานแต่ไม่มีสัญญาณภาพส่งมาจากตัวเครื่อง สาเหตุอาจจะมาจากสายสัญญาณไม่ได้ต่อไว้หรือหลวม หรืออาจจะเกิดจากตัวการ์ดจอมีปัญหา เป็นต้น
- ทดลองถอด หรือเปลี่ยนเอาอุปกรณ์ที่แน่ในว่าดีมาใส่แทนอุปกรณ์ที่เราคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องมีปัญหา
- ตรวจเช็คดูว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นหายไปหรือไม่หลังจากทดลองเปลี่ยนอุปกรณ์
- ถ้าอาการที่เกิดขึ้นนั้นหายไป แสดงว่าสาเหตุอาจจะมาจากอุปกรณ์ตัวนั้น หรือถ้าอาการนั้นไม่หาย ก็ให้ทดลองกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่เราคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุดูเพื่อตัดตัวแปรที่ไม่ใช่ออกทีละตัว
- เมื่อตรวจพบอุปกรณ์ที่เสียแล้ว ก็ให้ดูก่อนว่ายังอยู่ในระยะประกันหรือไม่ ซึ่ง
- ถ้ายังอยู่ในระยะประกัน ก็ทำการส่งอุปกรณ์ที่เสียนั้นให้ทางร้านที่ซื้อมา หรือตัวแทนให้ดำเนินการเคลมสินค้าให้
- ถ้าหมดระยะเวลาประกันแล้ว ก็อาจจะส่งร้านซ่อมที่เชื่อถือได้หรือซื้อมาเปลี่ยนใหม่
ปัญหาทางด้านซอฟต์แวร์ (Software)
ปัญหาทางด้านของซอฟต์แวร์นั้น ดูจะไม่ใช่ปัญหาที่ใหญ่หลวงอะไรมากนักสำหรับผู้ใช้ทั่วๆ ไป พูดได้ว่าถ้าโปรแกรมที่ใช้งานอยู่วันดีคืนดีเกิดมีปัญหาขึ้นก็แค่ถอดถอนโปรแกรมนั้นออกแล้วค่อยลงโปรแกรมใหม่ก็ได้ แต่ว่าถ้าเป็นโปรแกรมจำพวกระบบปฏิบัติการ หรือวินโดว์เกิดมีปัญหาขึ้นมา แม้ว่าจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไรเพราะไม่มีผลเสียต่ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อยู่แล้ว แต่มันทำให้เราเสียเวลาและเสียอารมณ์นี่สิ บางครั้งปัญหาทางด้านซอฟต์แวร์เหล่านี้ ไม่มีสัญญาณเตือนบอกเราก่อน บางทีใช้งานโปรแกรมอยู่ดีๆ เครื่องก็ค้างไปเสียเฉยๆ แล้วงานก็ยังไม่ได้บันทึก บางทีเมื่อวานยังใช้โปรแกรมนี้ได้อยู่พอมาวันนี้เปิดโปรแกรมขึ้นมาไม่ได้ หรือบางทีหนักกว่านั้นถอดถอนโปรแกรมบางตัวออกจากเครื่องแล้ว Restart เครื่องใหม่ แต่อยู่ดีๆ ทำไมบู๊ตเข้าวินโดว์ไม่ได้เฉยเลยก็มี ปัญหาเหล่านี้ถ้าเป็นคนที่ชำนาญหรือเป็นช่างคอมฯ ก็มองว่าเป็นปัญหาเล็กน้อย แก้เดี๋ยวเดียวก็เสร็จ แต่ถ้าเป็นผู้ใช้ที่ยังไม่ชำนาญการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ก็มีวิธีแก้ปัญหาอยู่อย่างเดียว นั่นก็คือ ส่งร้านซ่อม ซึ่งคิดไปแล้วก็เสียดายเงินเพราะบางปัญหานั้นสามารถแก้ไขได้อย่างง่ายๆ ด้วยตัวเราเอง
กรณีบู๊ตเข้า Windows ไม่ได้
กรณีบู๊ตเข้าวินโดว์ไม่ได้อันเนื่องมาจากปัญหาทางด้านซอฟต์แวร์นั้น ที่พบมาก็คือ ไฟล์ระบบเสียหรือสูญหาย ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการสั่งถอดถอนโปรแกรมที่มีการแชร์ไฟล์ร่วมกับไฟล์ที่สำคัญๆ บางตัวในระบบ หรืออาจจะเผลอไปลบเอง รวมถึงการเข้าไปทำการแก้ไขค่าต่างๆ ใน Registry ด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้บู๊ตเข้าวินโดว์ไม่ได้ทั้งสิ้น

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

RAM

แรม
RAM ย่อมาจากคำว่า RandomAccessMemoryเป็นหน่วยความจำของระบบมีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้CPUประมวลผลจะต้องมีไฟเข้า Module ของ RAM ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็น chipที่เป็น IC ตัวเล็กๆถูก pack อยู่บนแผงวงจร หรือ Circuit Board เป็น module เทคโนโลยีของหน่วยความจำมีหลักการที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน 2 เทคโนโลยี คือหน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDRSDRAM,DDRSGRAM)ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบSDRAMและSGRAMและอีกหนึ่งคือหน่วยความจำแบบ Rambus ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแนวคิดบางส่วนต่างออกไปจากแบบอื่น
ประเภทของแรมเราสามารถแบ่ง แรม ออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. SRAMหรือมาจากคำเต็มว่าStaticRAMซึ่งจะเป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้ตลอดเวลาค่ะโดยที่ไม่ต้องมีการรีเฟรชข้อมูลSRAMจะมีความเร็วในการทำงานสูงแต่ในขณะเดียวกันSRAMก็จะกินไฟมากและมีราคาแพงกว่าDRAMมากดังนั้นเราจึงไม่นิยมนำมาทำเป็นหน่วยความจำหลักแต่จะนิยมใช้ SRAM ไปทำเป็นหน่วยความจำแคช หรือ Cache Memory แทน
2. DRAMหรือมาจากคำว่าDynamicRAMซึ่งก็จะเป็นหน่วยความจำที่ต้องมีการรีเฟรชข้อมูลอยู่ตลอดเวลาเลยเพื่อไม่ให้ข้อมูลในหน่วยความจำนั้นสูญหายไปสำหรับการรีเฟรช(Refresh)ก็คือข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำชนิดDRAMนี้จะเก็บอยู่ในรูปของประจุไฟฟ้าซึ่งประจุไฟฟ้านี้จะสูญหายไปถ้าไม่มีการเติมประจุไฟฟ้าตามระยะเวลาที่กำหนดดังนั้นจึงต้องมีวงจรสำหรับการทำรีเฟรชหน่วยความจำชนิดDRAMแต่หน่วยความจำชนิดDRAMก็มีข้อดีของมันเหมือนกันนั่นก็คือมีราคาที่ถูกและสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าด้วยดังนั้นเราจึงนิยมใช้หน่วยความจำชนิด DRAM นี้มาเป็นหน่วยความจำหลักของระบบคอมพิวเตอร์
แรมแบบ DRAM สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด ซึ่งจะมีดังต่อไปนี้

1. EDO DRAM ย่อมาจากคำว่า Extended Data Out DRAM ค่ะ ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิด DRAM ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท ไมครอนหน่วยความจำชนิด EDO เริ่มมีใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเพนเทียมในยุคแรกๆและจะมี72Pinสำหรับเสียบสล็อตแบบSIMM(SingleInlineMemoryModule)จะทำงานในแบบ32บิตเพราะว่ามีหน้าสัมผัสเพียงแค่ด้านเดียวค่ะเพราะฉะนั้นถ้าเราจะใช้กับซีพียูที่ทำงานในแบบ64บิตก็จะต้องใส่เป็นคู่ค่ะถึงจะสามารถทำงานได้ปัจจุบันอาจจะดูล้าสมัยไปแล้วเพราะเป็นแรมชนิดที่เก่าและทำงานได้ช้าจึงไม่นิยมใช้กันแล้ว

2. SDRAM ย่อมาจากคำว่า Rambus DRAM ค่ะ คือจะเป็นหน่วยความจำชนิด DRAM และ SDRAM จะมีลักษณะเป็นแผงจำนวน168Pinสำหรับเสียบลงในสล็อตแบบ DIMM(DualInlineMemoryModule)เพราะว่ามีหน้าสัมผัสทั้งสองด้านจึงทำงานได้ในแบบ64บิตเพราะฉะนั้นถ้าเราจะใช้เราก็สามารถเสียบลงบนเมนบอร์ดทีละ 1 อันได้เลยค่ะ โดย SDRAM จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลตั้งแต่ 66 MHz, 100 MHz และ 133 MHz เป็นต้นค่ะ ปัจจุบันหน่วยความจำแบบ SDRAM จะค่อยๆ ลดความนิยมไปแล้ว และคิดว่ากำลังจะหายไปจากตลาดในไม่ช้านี้

3. DDR SDRAM หรือ SDRAM IIDDR SDRAM ย่อมาจากคำว่า Double Data Rate Synchronous DRAM ค่ะ เป็นแรมที่มีการพัฒนาต่อจาก SDRAM ค่ะ เพื่อที่จะให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัวเลยDDRSDRAMได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแข่งกับแรมแบบRambusและDDRSDRAMมีขนาดความจุตั้งแต่128MBขึ้นไปค่ะซึ่งจะมีลักษณะเป็นแผงไว้สำหรับเสียบลงในสล็อตแบบDIMMเหมือนกันกับSDRAMเพียงแต่ว่าDDRSDRAMจะมี184Pinและเป็นแรมที่กำลังได้รับความนิยมมากที่สุดอยู่ในขณะนี้ แถมราคาก็ไม่แพงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับ Rambus DRAM ค่ะ โดยในปัจจุบันDDR SDRAM มีออกมาให้ใช้กันอยู่ 3 รุ่น คือ รุ่น PC1600, PC2100 และPC2700ซึ่งในแต่ละรุ่นจะมีความเร็ว200MHz,266MHzและ333MHzและนอกจากนี้มันยังสามารถใช้งานกับซีพียูชนิดใดก็ได้ค่ะไม่มีข้อจำกัดและในปัจจุบัน DDR SDRAM ยังถือเป็นหน่วยความจำที่มีมาตรฐานด้วย

4. RDRAMย่อมาจากคำว่าRambusDRAMเป็นแรมที่มีความเร็วมากที่สุดและมีราคาแพงมากที่สุดด้วยค่ะจะมีจำนวน184PinและRDRAMเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย บริษัท Rambus และมี บริษัท Intel เป็นผู้สนับสนุนด้วยค่ะ แรมชนิดนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับความเร็วระบบบัสที่สูงขึ้นถึง 400 MHz และ800MHzซึ่งจะเหมาะกับการใช้งานประเภทมัลติมีเดียอย่างเช่นการใช้แสดงภาพ3มิติเป็นต้นและจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยและก็มีลักษณะเป็นแผงโดยแต่ละแผงจะเสียบลงในช่องของRambusหนึ่งช่องซึ่งจะเรียกว่าRIMMคือRambusInlineMemoryModuleซึ่งจะใส่แค่เพียงหนึ่งช่องแค่นี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณก็จะสามารถทำงานได้แล้ว และแรมชนิดนี้ Intel ตั้งใจจะนำมาใช้งานกับซีพียู รุ่น Pentium 4 เท่านั้นค่ะ และเมนบอร์ดก็จะต้องใช้ชิปเช็ตที่สนับสนุนด้วยซึ่งได้แก่ ชิปเซ็ต i850 ของอินเทลเป็นต้นค่ะ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้กันมากนัก เพราะว่ามีราคาแพง

อ้างอิง http://comschool.site40.net/M1.html

เทคโนโลยีของ DRAM ที่ใช้ใน PC
เริ่มจากอดีต ตั้งแต่ยุคสมัยเริ่มต้นของการใช้ PC มีการนำเอาสแตติกแรมมาใช้ แต่ขนาดของ RAM ในขณะนั้นมีเพียง 8-16 กิโลไบต์ ซึ่งต้องใช้พื้นที่บอร์ดขนาดใหญ่ ครั้นถึงยุคพีซีที่แพร่หลาย เช่น เครื่องแอบเปิ้ลทู การใช้หน่วยความจำเริ่มหันมาใช้แบบ DRAM
เมื่อมีการพัฒนา PC โดยบริษัทไอบีเอ็มที่เป็นต้นแบบที่เรียกว่า พีซีเอ็กซ์ที ไอบีเอ็มเลือกใช้ DRAM และเริ่มต้นด้วยขนาด 64 K ไบต์ และขยายมาเป็น 640 K ไบต์ ขยายเพิ่มจนหลายร้อยเมกะไบต์ในปัจจุบัน
ในยุคแรกการใช้ DRAM ยังใช้เป็นชิพ ไม่มีเทคนิคอะไรมากนัก เพราะซีพียูทำงานด้วยความเร็วเพียง 4-10 เมกะเฮิร์ทซ์เท่านั้น แต่ต่อมาถึงยุคพีซี 386, 486 ซีพียูเริ่มทำงานที่ความเร็ว 33 MHz จนถึง 66 MHz ซึ่งความเร็วขณะนี้เร็วกว่าการทำงานของหน่วยความจำจึงต้องเริ่มใช้เทคนิคการชลอที่เรียกว่า ให้จังหวะรอ (CPU-Wait State) ทำให้การทำงานไม่ได้เร็วอย่างที่ต้องการ
หากพิจารณาที่ชิพหรือข้อกำหนดของ DRAM จะพบว่ามีข้อกำหนดที่สำคัญคือ ช่วงเวลาเข้าถึง ซึ่งกำหนดเป็นหน่วย นาโนวินาที (หนึ่งในสิบกำลังลงเก้า หรือหนึ่งในพันล้านวินาที) หากซีพียูวิ่งด้วยความเร็ว 10 เมกะเฮิร์ทซ์ จะมีวงรรอบสัญญาณนาฬิกา 100 นาโนวินาที ถ้าความเร็วเพิ่มเป็น 100 เมกะเฮิร์ทซ์ ก็จะมีช่วงเวลาวงรอบของสัญญาณนาฬิกาเหลือ 10 นาโนวินาที ซึ่งเร็วขึ้นมาก และยิ่งในปัจจุบันใช้สัญญาณนาฬิกาสูงขึ้นอีกมาก
ดังนั้นการใช้วิธีการเชื่อมต่อกับชิพโดยตรงเหมือนในยุคแรกคงไม่ได้ จึงมีผู้ผลิตแผ่นวงจรหน่วยความจำ โดยทำเป็นแผงเล็ก ๆ ภายในมีวงจรเชื่อมต่อที่ใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าถึง เทคโนโลยีการผลิตแผงหน่วยความจำจึงเริ่มขึ้นและมีให้เลือกใช้ได้มากตามเวลาที่ผ่านมา
เริ่มจาก FPM DRAM
FPM มาจากคำว่า Fast Page Mode เป็น DRAM ในยุคแรกของรุ่น 486 โดยเพิ่มความเร็วในลักษณะแบ่งหน่วยความจำเป็นหน้าตามโครงสร้างที่แบ่งเป็นแถวและสดมภ์ โดยหากอ่านหรือเขียนหน่วยความจำในห้องเดียวกัน ก็ไม่จำเป็นต้องส่งค่าแอดเดรสในระดับแถวไป เพราะกำหนดไว้ก่อนแล้ว คงส่งเฉพาะสดมภ์เท่านั้น จึงทำให้ได้ความเร็วเพิ่มขึ้นอีก หน่วยความจำแบบ FPM ได้รับการนำมาใช้ในช่วงเวลาไม่นานนัก ปัจจุบันเลิกผลิตแล้ว
หน่วยความจำ EDO
EDO RAM
EDO ย่อมาจาก Extended Data Output เป็นเทคโนโลยีที่ปรับปรุงมาจาก FPM และนำมาใช้ในยุคการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่เพนเตียม หลักการของ EDO เน้นการซ้อนเหลี่ยมจังหวะการทำงาน ซึ่งขณะการทำงานที่ซ้อนเหลี่ยมนี้ทำให้ได้ความเร็วเพิ่มขึ้นอีกมาก หน่วยความจำแบบ EDO จึงเป็นที่รู้จักกันดีในช่วงเวลาหนึ่ง ปัจจุบันเลิกผลิตแล้วเช่นกัน
การซ้อนเหลี่ยมจังหวะการทำงานนี้ ทำให้ช่วงเวลาการเข้าถึงของซีพียูทำได้เร็วขึ้นกว่าเดิม และลดจังหวะการทำงานไปได้หลายจังหวะ ทั้งนี้ต้องคิดโดยรวมของประสิทธิภาพทั้งหมด หน่วยความจำ SDRAM
SDRAM
SDRAM เป็นคำย่อมาจาก Synchronous DRAM เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมา ซึ่งหน่วยความจำก่อนหน้านี้ใช้ระบบอัสแบบอะซิงโครนัส นั่นหมายถึงจังหวะการทำงานของซีพียูกับหน่วยความจำใช้สัญญาณนาฬิกาคนละตัว จังหวะการทำงานที่ไม่ซิงโครไนซ์กัน จึงเป็นปัญหา เพราะเทคโนโลยีซีพียูต้องการความเร็วและมีการสร้างระบบบัสมาตรฐานขึ้นมา ที่เรียกว่า PC66 PC100 PC133 หรือ PC200 ตัวเลขหมายถึงความเร็วสัญญาณนาฬิกาในบัส ซึ่งตัวเลขเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดความเร็วในการรับส่งข้อมูล
มาตรฐานจังหวะการทำงานของพีซีแสดงดังตารางที่ 1
ความเร็วบัสแบบ
ความเร็วแท้จริง
จังหวะการทำงาน
PC 66
66 MHz
15 ns
PC 100
100 MHz
10 ns
PC 100
125 MHz
8 ns
PC 133
133 MHz
7.5 ns
การออกแบบ SDRAM จึงเน้นการซิงโครไนซ์เข้ากับระบบบัสมาตรฐานเพื่อให้จังหวะการทำงานของการเขียนหรืออ่านหน่วยความจำเป็นจังหวะที่แน่นอน และด้วยวิธีนี้จะทำให้หน่วยความจำแบบ SDRAM มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าแบบ EDO
ปัจจุบัน (2545) SDRAM ยังมีใช้อยู่ แต่กำลังจะหมดสมัยในไม่ช้านี้


หน่วยความจำแบบ DDR-RAM
เป็นหน่วยความจำที่กำลังอยู่ในสมัยนิยม (2545) DDR ย่อมาจากคำว่า Double Data Rate ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อมาจาก SDRAM ในช่วงแรกบริษัทอินเทลไม่พัฒนาชิพเซตสนับสนุน ดังนั้นผู้ผลิตรายอื่น เช่น เอเอ็มดี และผู้ผลิตชิพเซตชั้นนำจากไต้หวันจึงรวมกันและพัฒนาเทคโนโลยี้นี้จนได้รับความนิยมสูง บริษัทผู้ผลิตชิพเซตและสร้างเมนบอร์ดชั้นนำของโลกจากไต้หวันที่ผลิตได้แก่ VIA, SiS, ALi
DDR เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาครั้งแรกเพื่อเป็นการ์ดหน่วยความจำในภาคแสดงผล และเป็นตัวเร่งการแสดงผล แต่ต่อมาเห็นว่าเทคโนโลยีนี้เหมาะที่จะนำมาใช้เป็นหน่วยความจำหลักด้วย
DDR RAM
ลักษณะของการเชื่อมต่อกับบัสของซีพียูยังคงใช้ระบบมาตรฐานเดิมแบบ PC 100 หรือ PC 133 แต่ด้วยเทคโนโลยีที่สร้างทำให้ได้เส้นทางคู่ขนาน ความเร็วในการขนส่งข้อมูลกับหน่วยความจำจึงมีได้เป็นสองเท่าของ SDRAM เนื่องจากแนวคิดหลายอย่างนำมาจาก SDRAM ทำให้หน่วยความจำนี้ราคาไม่สูงมากนัก และปัจจุบันกำลังพัฒนา DDR II ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่สอง โดยจะเพิ่มความเร็วในการขนส่งอีกสองเท่าตัว หน่วยความจำแบบ DDR มีขาทั้งหมด 184 ขา ซึ่งมากกว่า SDRAM ซึ่งมีเพียง 168 ขา ดังนั้นจึงใช้แทนกันไม่ได้ RDRAM
หน่วยความจำ RDRAM
RDRAM ย่อมาจาก Rambus DRAM เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาในแนวทางที่แยกออกไป โดยมีการสร้างระบบการเชื่อมต่อใหม่และต้องใช้วงจรพิเศษ RDRAM ได้รับการสนับสนุนจากอินเทล ดังนั้นพีซีที่ใช้ RDRAM จึงต้องใช้ชิพสนับสนุนของอินเทล RDRAM มีแถบกว้างการขนส่งข้อมูลได้สูง
RDRAM มีหลายเวอร์ชัน ซึ่งได้แก่ รุ่น B-Base, C-Concurrence และ D-Direct แต่ละรุ่นจะมีการขนส่งข้อมูลได้สูงต่างกับรุ่นที่สูงสุดในขณะนี้สามารถขนส่งข้อมูลได้ถึง 800 MHz

ข้อพิจารณาที่สำคัญ
ในการพิจารณาการเลือกใช้ RAM จึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะต้องเข้าใจในเรื่องประสิทธิภาพต่อราคา RDRAM มีราคาที่สูงกว่า DDRAM มาก โดยปกติเราวัดประสิทธิภาพของการขนส่งข้อมูลด้วยค่าแถบกว้าง หรือที่เรียกว่า แบนด์วิดช์ (band width) DDR-RAM ที่ใช้ PC 200 หรือ 200 MHz แต่มีการขนส่งข้อมูลได้ 8x200 เท่ากับ 1600 เมกะไบต์ต่อวินาที (ขนส่งข้อมูลบนบัสขนาด 64 บิต) และถ้าเพิ่มความเร็วเป็น 266 MHz ก็จะได้แถบกว้างเป็น 2.1 จิกะไบต์ต่อวินาที ขณะที่ RDRAM แบบ PC 800 จะมีแถบกว้างได้ถึง 3.2 จิกะบิตต่อวินาที ซึ่งแน่นอนราคาของ RDRAM ยังแพงกว่า DDR-RAM อยู่มาก
การเลือกใช้หน่วยความจำจึงจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีอยู่บ้าง การเลือกขนาดของหน่วยความจำก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความจุของหน่วยความจำต่อแผงได้เพิ่มขึ้นทุกปี เทคโนโลยีพีซีจึงเป็นเทคโนโลยีไม่หยุดนิ่ง หลายสิ่งหลายอย่างทางเทคโนโลยีวันนี้มีความทันสมัย แต่ครั้นเวลาผ่านไปไม่นานก็ล้าสมัยเสียแล้ว

อ้างอิง http://www.ku.ac.th/magazine_online/select_ram.html

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

mainframe computer

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมาก เมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี


บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด


ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม

อ้างอิง http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/index2.htm#main_com

เครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงมากและมักจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและอุปกรณ์อื่น ๆ พ่วงต่ออยู่ด้วยเสมอ เครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้รับการออกแบบมาสำหรับผู้ใช้จำนวนตั้งแต่ไม่กี่คนไปจนถึงนับร้อยคนสามารถใช้งานต่าง ๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน จึงมักจะทำหน้าที่เป็นโฮสต์เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ตามปกตินั้นสามารถเข้าสู่ระบบเครือข่ายได้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น การใช้งานในบริษัทรับประกันวินาศภัยแห่งหนึ่งซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ โดยมีสาขาประจำภาคอยู่อีกสามแห่ง คือที่ราชบุรี เชียงราย และ ภูเก็ต แต่ละสาขาประจำภาคก็จะมีสาขาย่อยอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ โดยรอบสาขาใหญ่นั้น ๆ ที่สำนักงานใหญ่และสาขาประจำภาคจะมีเครื่องเมนเฟรมที่เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กของสาขาประจำจังหวัดในกลุ่มนั้น ๆ เข้าด้วยกันและเมนเฟรมทั้งสี่เครื่องก็จะถูกเชื่อมต่อถึงกัน ซึ่งลักษณะโครงสร้างแบบนี้จะช่วยลดปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่านระหว่างเครื่องเมนเฟรมลง และยังช่วยให้การตอบสนองระหว่างผู้ใช้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นเช่น ผู้ใช้ในจังหวัดหนึ่งสามารถติดต่อกับเครื่องเมนเฟรมประจำกลุ่มของตนเองได้โดยตรง ส่วนผู้บริหารระดับสูงก็สามารถตรวจสอบรวบรวมข้อมูลจากเครื่องเมนเฟรมทั้งสี่แห่งเข้าด้วยกันได้ตลอดเวลาที่ต้องการ


ภาพที่ 2.15 แสดงเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลโดยมีเครื่องเมนเฟรมทำหน้าที่เป็นโหนด
เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีราคาแพงมากและระบบมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อน จึงไม่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทอร์มินอล แต่ในทางกลับกัน จะมีเครื่องเทอร์มินอลจำนวนมากเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องเมนเฟรมซึ่งทำหน้าที่เป็นโฮสต์ให้บริการสารพัดอย่างแก่เทอร์มินอลเหล่านั้นรวมทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายด้วย

ในปัจจุบัน บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน (โดยเฉพาะในประเทศไทย) ได้เลิกใช้เครื่องเมนเฟรมแล้วหันไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อทำหน้าที่อย่างเดียวกัน แต่มี ค่าใช้จ่ายถูกกว่ามาก อย่างไรก็ตามยังคงมีบริษัทและองค์กรขนาดใหญ่อีกเป็นจำนวนมากที่ยังคงใช้เครื่องเมนเฟรมอยู่ในการให้บริการทุกชนิดแก่บุคลากรในองค์กรนั้น ๆ งานหลายชนิดก็มีความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องเมนเฟรม เช่น การพยากรณ์อากาศ การคำนวณขนาดใหญ่ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น เครื่องเมนเฟรมยังคงยิ่งใหญ่เหนือเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กในเรื่องค่าใช้จ่ายโดยรวมที่ต่ำกว่า เรื่องความปลอดภัยของข้อมูลที่ดีกว่า การขยายขีดความสามารถได้มากกว่า ความไว้วางใจได้ในระดับที่สูงกว่า และวิธีการควบคุมระบบทั้งระบบจากศูนย์กลางเพียงแห่งเดียว

อ้างอิง http://www.dcs.cmru.ac.th/lesson2_7.php

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
1.) ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
ส่วนรับข้อมูล (Input Unit) เป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากคน และส่งต่อข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผล(Process Unit) เพื่อทำการประมวลผลต่อไป รูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัสดิจิตอล (หรือเป็นเลข 0 กับ 1) นั่นเอง อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ได้แก่ - คีย์บอร์ด (keyboard)
- เมาส์ (mouse)



- สแกนเนอร์ (scanner) สแกนเนอร์ (Scanner) คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของ อนาล็อกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถแสดง เรียบเรียง เก็บรักษาและผลิต ออกมาได้ ภาพนั่นอาจจะเป็น รูปถ่าย ข้อความภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ
- อุปกรณ์สแกนลายนิ้วมือ (finger scan)



- ไมโครโฟน(microphone)
- กล้องเว็บแคม (webcam) อุปกรณ์ใน ส่วนรับข้อมูล ยังมีอีกมากมายและสามารถจะยังมีเพิ่มตามขึ้นไปเรื่อยๆ ตามการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
2.) ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่รับมาจาก ส่วนรับข้อมูล(Input Unit) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
3.) หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์ที่มาจากการประมวลผลข้อมูล ของส่วนประมวลผลข้อมูล โดยปกติรูปแบบของการแสดงผล มีอยู่ 2 แบบ ด้วยกันคือ แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ และแบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้
- แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และ เครื่องวาด (Plotter)
เครื่องพิมพ์ (Printer)



เครื่องวาด (Plotter)
- แบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ เช่น จอภาพ(Monitor) , เครื่องฉายภาพ(LCD Projector) และ ลำโพง (Speaker)
จอภาพ (monitor) เครื่องฉายภาพ (LCD Projector) 4.) หน่วยความจำ (Memory Unit)
หน่วยความจำ (Memory Unit) อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำชั่วคราวและหน่วยความจำถาวร
- หน่วยความจำชั่วคราว คือ แรม (RAM: Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน ข้อมูลและชุดคำสั่งจะหายไปทุกครั้งที่เราปิดเครื่อง
RAM

- รอม (ROM ย่อมาจาก Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำแบบหนึ่งของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่เก็บคำสั่งและข้อมูลพื้นฐานที่คอมพิวเตอร์จะต้องใช้เอาไว้อย่างถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง หรือลบทิ้งได้ แม้เมื่อไฟดับคำสั่งและข้อมูลที่บันทึกเอาไว้ในรอมก็ยังคงอยู่เป็นปกติไม่หายไปไหน ข้อมูลที่เก็บในรอม คือโปรแกรมพื้นฐานสำหรับควบคุมอุปกรณ์รับคำสั่งและข้อมูล และอาจจะมีตัวแปลคำสั่งภาษาเบสิกอยู่ด้วย
- หน่วยความจำถาวรหรือ หน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ Hard Disk ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง
Harddisk

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ

1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
หน่วยความจำหลัก
หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก
ฮาร์ดแวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

2.ซอฟต์แวร์ (Software)
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
ซอฟต์แวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

3.บุคลากร (Peopleware)
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น
ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังตาราง
มีความสัมพันธ์กัน (relevant)
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
มีความทันสมัย (timely)
ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate)
เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
มีความกระชับรัดกุม (concise)
ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete)
ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน
คุณสมบัติของสารสนเทศที่มีประโยชน์


4.การเปลี่ยนรูปจากข้อมูลสู่สารสนเทศ

กระบวนการทำงาน (Procedure)
กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
เลือกรายการ
ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
รับเงิน
รับใบบันทึกรายการ และบัตร
การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual) เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Lock Folder Folder Lock
security tool that lets you lock your files and folders เครื่องมือรักษาความปลอดภัยที่ช่วยให้คุณสามารถล็อคไฟล์และโฟลเดอร์ของคุณ

Lock Folder XP
Lock Folder XP is a security tool for locking your files, folders and drives. Lock Folder XP เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยสำหรับการล็อกโฟลเดอร์แฟ้มและไดรฟ์

Folder Lock N
Folder Hide N Lock can be used to hide, Lock and protect any folder(s). โฟลเดอร์ซ่อน N Lock สามารถใช้ในการซ่อน Lock และป้องกันโฟลเดอร์ (s) ใด ๆ

Lock my Folder
protect your files, folder, disk with your password ปกป้องไฟล์โฟลเดอร์ดิสก์ของคุณด้วยรหัสผ่านของคุณ

LockedFolder LockedFolder
Small program to lock your data in security โปรแกรมขนาดเล็กเพื่อล็อคข้อมูลของคุณในการรักษาความปลอดภัย

Lock
A tool to lock open terminal windows. เครื่องมือเพื่อล็อค Windows Terminal เปิด

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียภาษาcomputer

ข้อดี
PHP
ยืดหยุ่น ไม่ซับซ้อน สามารถพัฒนาแบบ Object ได้ (PHP5 ขึ้นไป) มีบริษัทที่ให้การสนับสนุนโปรแกรมระดับ Enterprise นักพัฒนาสามารถ หา Compiler ได้ฟรีๆ ไม่ต้องเสียตัง มีโปรแกรมเสริมจำนวนมาก มีคำสั่งครบถ้วน
http://www.thaiadmin.org/board/index.php?action=printpage;topic=4968.0

Java
โปร แกรมจาวาที่เขียนขึ้นสามารถทำงานได้หลาย platform โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขหรือ compile ใหม่ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องเสียไปในการ port หรือทำให้โปรแกรมใช้งานได้หลาย platform
ภา ษาจาวาเป็นภาษาเชิงวัตถุ ซึ่งเหมาะสำหรับพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อน การพัฒนาโปรแกรมแบบวัตถุจะช่วยให้เราสามารถใช้คำหรือชื่อ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบงานนั้นมาใช้ในการออกแบบโปรแกรมได้ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
ภาษาจาวามีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษา C++ ทำให้ใช้งานได้ง่ายกว่าและลดความผิดพลาดได้มากขึ้น
ภา ษาจาวามีการตรวจสอบข้อผิดพลาดทั้งตอน compile time และ runtime ทำให้ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในโปรแกรม และช่วยให้ debug โปรแกรมได้ง่าย
ภาษาจาวาถูกออก แบบมาให้มีความปลอดภัยสูงตั้งแต่แรก ทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยจาวามีความปลอดภัยมากกว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภา ษาอื่น
มี IDE, application server, และ library ต่าง ๆ มากมายสำหรับจาวาที่เราสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการซื้อ tool และ s/w ต่าง ๆ
http://www.thaiblogonline.com/boongpig.blog?PostID=13211

C++
เป็นภาษาที่ทำงานได้รวดเร็ว เมื่อเทียบกับภาษาอื่น
สามารถทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภทกัน โดยอาศัยการคอมไพล์โปรแกรมให้
http://images.thanakornj.multiply.multiplycontent.com/attachment/

ภาษาC
สั้น กะทัดรัด การรองรับ pointer มีหนังสือ Algorithms ดีๆ ที่ใช้ภาษา C อ้างอิงอยู่มาก
http://www.thaiadmin.org/board/index.php?action=printpage;topic=4968.0

VB
การครอบคลุมตลาด ตั้งแต่ RAD ไปกระทั่ง VB Script สำหรับเขียน ASP บน Web หรือแม้กระทั่ง Application ต่างๆ เช่น Office VISIO ก็ล้วนแล้วแต่รองรับการเพิ่มความสามารถด้วย VBA และในปัจจุบัน Microsoft ได้ขยายสังเวียนการต่อไปไปถึง Pocket PC อีกด้วย สำหรับ VB นัยว่า Store procedure ของ SQL Server Microsoft จะรองรับภาษา VB ด้วย มีจุดหนึ่งที่ทำให้ VB ดูดีกว่าภาษาตระ***ล C ก็คือ Case Insensitive คงไม่ปฏิเสธว่า Case Sensitive มันก็มีความยืดหยุ่นสูง แต่มันก็ทำให้เขียนโปรแกรมแล้วหลงได้ง่าย บางคนเลือก VB เพราะเหตุผลนี้เป็นหลัก
http://www.thaiadmin.org/board/index.php?action=printpage;topic=4968.0

VB.net
- รองรับ Optional argument ซึ่งสำคัญมากที่คุณต้องการใช้งานร่วมกับ ActiveX component หรือการเขียนโค้ดชนกับพวก Office- ทำตัวไม่ซีเรียสได้ คือยอมรับการทำ late-binding ได้ถ้าไม่กำหนด Option Strict On การเขียนโค้ดพวกนี้ใช้กับพวก ActiveX อีกนั่นเอง (ผมแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเขียนโค้ดแบบ late-binding ใน .Net)- รองรับการทำ named indexer (การสร้าง property ที่มี argument)- มีคำสั่ง VB แบบเดิมๆ เช่น Left, Mid, UCase, ... ให้ใช้ง่ายๆ สำหรับ ผู้ใช้ VB6 มาก่อน (การเรียกใช้ฟังก์ชันแบบเดิมๆ นี้จะมีผลต่อประสิทธิภาพ ของโปรแกรม)- มีประโยค With..End With ให้ใช้ - ความเรียบง่าย เช่นการสร้างประโยค Event - สามารถกำหนดชื่อเมธอดของการ implements interface ที่ต่างจาก ที่กำหนดไว้ใน interface ได้ (ผมว่าไม่ค่อยได้ประโยชน์เลย ทำให้ยุ่งยาก ในการค้นหาเสียมากกว่า)- มีประโยค Catch...When... ทำให้สามารถทำการ filter exception ด้วยเงื่อนไขได้ นอกเหนือจากการ filter ด้วยชนิดของ exception เท่านั้น- Visual Studio .Net จะทำการ compile โค้ดในลักษณะ background ซึ่งช่วยเป็นข้อดีในโปรเจ็กต์ขนาดเล็ก แต่ถ้าโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่มหึมา จะกลับเป็นข้อเสียอย่างมาก (มีฝรั่งหลายคนบ่นว่าต้องถึงกับต้องยอม เปลี่ยนจาก VB.Net มาเป็น C# เลย ในโปรเจ็กต์ที่มีไฟล์มีคลาสเป็นพันๆ)
http://dotnet.exteen.com/20071223/vb-net-vs-c

ปาสคาล
- เป็นภาษาในยุกเริ่มแรก เหมาะสำหรับงานทั่วไป
- เหมาะสำหรับทำงานใน DOS
http://www.blmiacec.ac.th/E-learning/bscom/9-3.html

JavaScript
ความเร็ว . เป็นฝั่งไคลเอ็นต์, JavaScript มีความรวดเร็วเพราะมีฟังก์ชัน code สามารถทำงานทันทีแทนที่จะต้องติดต่อเซิร์ฟเวอร์และรอคำตอบ
Simplicity. JavaScript is relatively simple to learn and impleเรียบง่าย . JavaScript ค่อนข้างง่ายที่จะเรียนรู้และใช้
Versatility. JavaScript plays nicely with other languages and can be used in a huge variety of applicatioเก่งกาจ . JavaScript เล่นอย่างกับภาษาอื่น ๆ และสามารถใช้ในมากมายของการใช้งาน Unlike PHP or SSI scripts, JavaScript can be inserted into any web page regardless of the file extension. ต่างจาก PHP หรือสคริปต์ SSI, JavaScript สามารถแทรกลงในหน้าเว็บใด ๆ ไม่ว่านามสกุล JavaScript can also be used inside scripts written in other languages such as Perl and PHP. JavaScript สามารถใช้ในการเขียนสคริปต์ในภาษาอื่น ๆ เช่น Perl และ PHP
Server Load. Being client-side reduces the demand on the website server. Load Server . เป็นฝั่งไคลเอ็นต์เซิร์ฟเวอร์ลดความต้องการในเว็บไซต์
http://www.mediacollege.com/internet/javascript/pros-cons.html


AS2 - ภาพชัด - ขนาดเล็ก - โหลดได้เร็ว - ทำงานแทน CGI ได้ในระดับหนึ่ง - ทำภาพเคลื่อนไหวได้โดยไม่ต้องพึ่ง Java Script - สร้างฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลได้
http://www.thaimisc.com/flash/article/1/index.html

C#
- รองรับ XML documentation คล้ายๆ javadoc คือเอาคอมเม้นต์ในโค้ดมาแปลงเป็นเอกสาร technical manual ได้เลย แต่ใน VB.Net เวอร์ชั่น 2005 (Whidbey) ก็จะรองรับในคุณสมบัตินี้ด้วย
- สามารถทำ operator overloading ได้ (VB.Net 2005 ก็จะทำได้เช่นกัน)
- รองรับ unsigned datatype (VB.Net 2005 ก็จะทำได้เช่นกัน)
- มีประโยค using เพื่อใช้จัดการกับ resource ที่เป็นแบบ unmanaged
- รองรับ unsafe code
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=6ce0454ac322fbd2
AS3
1. มันเขียนโค้ดลงบนวัตถุไม่ได้ (เช่น เขียนโค้ดลงบนปุ่ม) ต้องเขียนบนเฟรม หรือไฟล์ as เท่านั้น2. ทุกอย่างทำงานเป็น Event และมี Listener อย่างชัดเจน อธิบายคร่าวๆ คือ.. มี "ยาม" มานั่งเฝ้า "เหตุการณ์" ที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น "ยาม" นั่งเฝ้าตึกอยู่ หากมี "โจรปีนตึก" ยามจะต้องทำอะไรบ้าง!!! เราก็กำหนดไป3. คำสั่งใน AS2 บางส่วนตัดทิ้งไป และใช้งานคนละแบบกันใน AS3 เลย อย่างเช่น gotoAndPlay ปกติแล้ว AS2 เราจะใส่ชื่อ Scene ก่อนแล้วตามด้วยเฟรม แบบนี้1.gotoAndPlay("Scene 1", 1);แต่ AS3 จะต้องใส่ เฟรม ก่อนชื่อ Scene (ระวังให้ดี)1.gotoAndPlay(1, "Scene 1");แต่เหตุที่ต้องเปลี่ยน เพราะอะไร? ไว้ผมจะอธิบาย ใน "ยาม" ที่เราเข้าถึงเหตุการณ์ "เรียน OOP"


ข้อเสีย
PHP
ถ้าต้องการการเข้ารหัส Code จะต้องเสียเงิน เพื่อใช้บริการของ Third Party ตัวภาษาเองไม่สามารถเข้ารหัสได้ Developer Environment ยังเป็นแบบ Code Based อยู่ไม่มี Compiler เพื่อสร้าง Binary สำหรับแต่ละ OS
http://www.thaiadmin.org/board/index.php?action=printpage;topic=4968.0

Java
ทำงาน ได้ช้ากว่า native code (โปรแกรมที่ compile ให้อยู่ในรูปของภาษาเครื่อง) หรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น อย่างเช่น C หรือ C++ ทั้งนี้ก็เพราะว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาจาวาจะถูกแปลงเป็นภาษากลางก่อน แล้วเมื่อโปรแกรมทำงานคำสั่งของภาษากลางนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาเครื่องอีกที หนึ่ง ทีล่ะคำสั่ง (หรือกลุ่มของคำสั่ง) ณ runtime ทำให้ทำงานช้ากว่า native code ซึ่งอยู่ในรูปของภาษาเครื่องแล้วตั้งแต่ compile โปรแกรมที่ต้องการความเร็วในการทำงานจึงไม่นิยมเขียนด้วยจาวา

tool ที่มีในการใช้พัฒนาโปรแกรมจาวามักไม่ค่อยเก่ง ทำให้หลายอย่างโปรแกรมเมอร์จะต้องเป็นคนทำเอง ทำให้ต้องเสียเวลาทำงานในส่วนที่ tool ทำไม่ได้ ถ้าเราดู tool ของ MS จะใช้งานได้ง่ายกว่า และพัฒนาได้เร็วกว่า (แต่เราต้องซื้อ tool ของ MS และก็ต้องรันบน platform ของ MS)
http://www.thaiblogonline.com/boongpig.blog?PostID=13211


C++
เป็นภาษาที่เรียนรู้ยาก
การตรวจสอบโปรแกรมทำได้ยาก
ไม่เหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการออกรายงานที่มีรูปแบบซับซ้อนมากๆ
http://images.thanakornj.multiply.multiplycontent.com/attachment/

ภาษาC
ซับซ้อน อ่านยาก ภาษา C มองทุกอย่างเป็น Case Sensitive ทำให้เขียนโปรแกรมแล้วหลงเรื่อง Case เป็นประจำ ไม่มีตัวจัดการจองหน่วยความจำในตัวเอง
http://www.thaiadmin.org/board/index.php?action=printpage;topic=4968.0

VB
เรื่องความเร็ว แน่นอนภาษา VB ช้ากว่าภาษาอื่นมาก เรื่องนี้จริง แต่คนส่วนมากที่ใช้ VB จะไม่ค่อยรู้สึก เพราะงานที่ต้องใช้ความเร็วจริงๆ มีไม่มาก ถ้างานที่ต้องใช้ความเร็วจริงๆ ก็ใช้ภาษาอื่น VB ไม่ใช่เป็นภาษาที่เป็น OOP เต็มรูปแบบ ไม่สามารถทำ Implementation Inheritance ได้
http://www.thaiadmin.org/board/index.php?action=printpage;topic=4968.0

VB.net
ไม่สามารถจับตัวชี้โดยตรง -- นี้สามารถเสียเปรียบเพราะมีจำเป็นต่อการเข้ารหัสและคิดจะจัดการชี้ Additional coding results in additional CPU cycles; which in turn requires additional processing time; which results in slower applications. ผลการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมในรอบการทำงานเพิ่มเติม; ซึ่งจะต้องใช้เวลาการประมวลผลเพิ่ม; ซึ่งผลในการใช้งานช้า

Large Talent Pool – Since VB is so easy to learn there is a significantly larger pool of competition; thus, there can be more programmers applying for the same employment or project and this can ultimately drive the market value of the programmer's services down. ใหญ่ Talent Pool -- เมื่อ VB เป็นเพื่อง่ายต่อการเรียนรู้มีสระว่ายน้ำขนาดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญของการแข่งขัน; จึงมีสามารถเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมสมัครงานเดียวกันหรือโครงการนี้และในที่สุดสามารถไดรฟ์มูลค่าตลาดบริการโปรแกรมของลง

Intermediate Language (IL) compilation – These types of compilers can be easily decompiled (aka Reverse Engineered); there is little that can be done to deter decompiling of the application, and nearly nothing that can be done to pIntermediate Language (IL) รวบรวม -- ประเภทนี้ compilers ได้ง่าย decompiled (aka Reverse Engineered) มีน้อยที่สามารถทำได้เพื่อยับยั้ง decompiling ของโปรแกรมและเกือบไม่มีอะไรที่สามารถทำได้เพื่อป้องกันไม่ให้

Just-In-Time (JIT) compiler – JIT compiling is the way the computer can interpret the IL compilation. Just - In - Time (JIT) compiler -- JIT รวบรวมรวบรวมเป็นวิธีที่คอมพิวเตอร์สามารถ IL ตีความ This is essential to running the application. นี้เป็นสิ่งจำเป็นที่จะใช้โปรแกรม This means the target computer will be required to have JIT and that the application can receive performance degradation because of the extra CPU cycles required to use JIT. ซึ่งหมายความว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป้าหมายจะต้องมี JIT และสมัครได้รับการย่อยสลายเพราะของรอบการทำงานพิเศษที่จำเป็นในการใช้ JIT

Large Libraries – Because VB is an IL there is a large number of libraries required for the JIT compiler to interpret the application. ห้องสมุดขนาดใหญ่ -- เนื่องจาก VB เป็นโปรแกรม IL มีขนาดใหญ่จำนวนห้องสมุดต้อง JIT เพื่อรวบรวมไปตีความ Large libraries require more hard drive space, more computing time and most of all it can be a nuisance if the application is being deployed over the internet and the user must obtain these libraries in addition to the files of the compiled application. ห้องสมุดขนาดใหญ่ต้องใช้พื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสก์เพิ่มเติมเวลาการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นและส่วนใหญ่ทั้งหมดอาจจะรำคาญถ้าสมัครจะถูกใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ตและผู้ใช้จะต้องได้รับห้องสมุดนี้นอกจากไฟล์ของโปรแกรมรวบรวม
http://dotnet.exteen.com/20071223/vb-net-vs-c

ปาสคาล
ไม่เหมาะสำหรับงานควบคุม หรือ สร้างภาพกราฟฟิคที่มีความยุ่งยาก เช่น เขียนเกมส์ที่มีความสมจริง หรืองานทางด้านวิศวกรรม การคำนวนทางด้านวิศวกรรมhttp://www.blmiacec.ac.th/E-learning/bscom/9-3.html

JavaScript
Security . เนื่องจากรหัสรันบน'ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในบางกรณีก็สามารถใช้ประโยชน์เพื่อวัตถุประสงค์ที่เป็นอันตราย This is one reason some people choose to disable JavaScript. นี่คือเหตุผลหนึ่งที่บางคนเลือกที่จะปิดการใช้งาน JavaScript
Reliance on End User. JavaScript is sometimes interpreted differently by different browsers. พึ่งพา End User . JavaScript ถูกแปลบางครั้งแตกต่างจากเบราว์เซอร์ที่แตกต่างกัน Whereas server-side scripts will always produce the same output, client-side scripts can be a little unpredictable. ส่วนสคริปต์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์มักจะผลิตออกเดียวกันสคริปต์ฝั่งไคลเอ็นต์สามารถคาดการณ์เล็กน้อย Don't be overly concerned by this though - as long as you test your script in all the major browsers you should be safe. ไม่ต้องกังวลจนเกินไปโดยนี้แม้ว่า -- ตราบเท่าที่คุณทดสอบ script ของคุณในทุกเบราว์เซอร์ที่สำคัญคุณควรจะปลอดภัย
http://www.mediacollege.com/internet/javascript/pros-cons.html

AS2
- ผู้ใช้ที่มี Browser รุ่นเก่าๆจะไม่สามารถดู Flash ได้
- จำเป็นต้องไปโหลดปลั้กอินเพิ่มเติมเอาเอง (บางที Browser รุ่นไหม่ที่ไม่มีปลั๊กอินก็ดูไม่ได้เหมือนกัน)
http://www.thaimisc.com/flash/article/1/index.html

C#
ผมแค่อยากกล่าวว่า C# นั้นลอก Java มาครับ Microsoft มีจุดไม่ดีมากๆ ก็เรื่องชอบลอกนี่แหละครับ Windows ก็ลอก Apple LISA และ Macintosh มา IDE ของการเขียนโปรแกรมก็ลอก Borland มา และอื่นๆ อีกมาก รวมทั้ง .NET Framework ก็ลอก JAVA Platform มาไม่น้อยกว่า 80% แต่ก็นั่นแหละครับ Microsoft เป็นจอมลอกที่มีพรสวรรค์ครับ ลอกแล้ว ถ้าใครไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้ จะดูไม่รู้เลยครับ
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=6ce0454ac322fbd2

AS3
1. มันเขียนโค้ดลงบนวัตถุไม่ได้ (เช่น เขียนโค้ดลงบนปุ่ม) ต้องเขียนบนเฟรม หรือไฟล์ as เท่านั้น2. ทุกอย่างทำงานเป็น Event และมี Listener อย่างชัดเจน อธิบายคร่าวๆ คือ.. มี "ยาม" มานั่งเฝ้า "เหตุการณ์" ที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น "ยาม" นั่งเฝ้าตึกอยู่ หากมี "โจรปีนตึก" ยามจะต้องทำอะไรบ้าง!!! เราก็กำหนดไป3. คำสั่งใน AS2 บางส่วนตัดทิ้งไป และใช้งานคนละแบบกันใน AS3 เลย อย่างเช่น gotoAndPlay ปกติแล้ว AS2 เราจะใส่ชื่อ Scene ก่อนแล้วตามด้วยเฟรม แบบนี้1.gotoAndPlay("Scene 1", 1);แต่ AS3 จะต้องใส่ เฟรม ก่อนชื่อ Scene (ระวังให้ดี)1.gotoAndPlay(1, "Scene 1");แต่เหตุที่ต้องเปลี่ยน เพราะอะไร? ไว้ผมจะอธิบาย ใน "ยาม" ที่เราเข้าถึงเหตุการณ์ "เรียน OOP"

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553


นางสาว จีรภา เพ็งผาลา ชั้น พณ. 2/12 เลขที่ 6
JEERAPA PENGPALA CLASS. พณ. 2/12 NO .6
นางสาว สุธิดา แก้ววิเศษ ชั้น พณ. 2/12 เลขที่ 23












































วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1

ตอนที่ 1 จงเติมคำหรือข้อความลงในช่องว่างให้ได้ใจความสมบูณร์

1. จงบอกขั้นตอนการเขียนโปรแกรมเป็นข้อ ๆ
ตอบ 1.กำหนดขอบเขตของปัญหา
2.การพัฒนางำดับขั้นตอนการทำงานเพื่อแก้ปัญหา
3.การออกแบบโปรแกรม
4.เขียนโปรแกรม
5.การคอมไพล์โปรแกรม
6.การทดสอบโปรแกรม
7.การจัดทำเอกสารประกอบโปรแกรม

2. โครงสร้างใหญ่ ๆ ของคอมพิวเตอร์มีกี่หน่วย อะไรบ้าง
ตอบ 5 หน่วย 1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
2. หน่วยความจำ (Memore Unit)
3. หน่วยคำนวน (Arithmetic Unit)
4. หน่วยควบคุม (Control Unit)
5. หน่วยแสดงผล (Output Unit)

3. จงอธิบายความหมายของตรรกะ
ตอบ หมายถึง เหตุผลที่ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ตรรกะเป็นพื้นฐานเพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์จะทำงานสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านตรรกะ

4. ให้ยกตัวอย่างตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
ตอบ + บวก - ลบ * คูณ / หาร (b*B-4*a*c)/(2*a)

5. จงอธิบายความหมายของเซต
ตอบ ในทางคณิตศาสตร์ ใช้ความหมายของคำว่า กลุ่ม หมู่ เหล่า กอง ฝูง ชุดและเมื่อกล่าวถึงเซตของสิ่งใด ๆ จะรู้ได้ทันทีว่าในเซตนั้นมีอะไรบ้าง เรียกสิ่งที่อยู่ในเซตว่า "สมาชิก"

6. จงบอกสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเซต
ตอบ 1. สามารถใช้วงกลม วงรี แทนเซตต่างๆได้
2. ชื่อเซตที่นิยมใช้ตัวใหญ่ทั้งหมด เช่น A,B,C, ......,Z
3. สัญลักษณ์

7. จงอธิบายเซตว่างแตกต่างกับเซตจำกัดอย่างไร
ตอบ เซตว่างคือเซตที่ไม่มีสมาชิกเลย
เซตจำกัดคือเซตที่มีจำนวนสมาชิกเท่ากับจำนวนเต็มบวกหรือศูนย์

8. จงบอกหลักเกณฑ์การแก้ปัญหาโจทย์ด้วยคอมพิวเตอร์
ตอบ 1. สิ่งที่โจทย์ต้องการ
2. รูปแบบของผมลัพธ์ที่ต้องการ
3. ข้อมูลนำเข้า
4. ตัวแปรที่ใช้
5. วิธีการประมวลผล

9. ให้ยกตัวอย่างชื่อตัวแปรและใช้แทนตัวแปรอะไร อย่างน้อย 3 ตัวแปร
ตอบ Tax = ภาษี
Net = เงินสุทธิ
Total = เงินรวม

10. จงบอกลำดับขั้นตอนการทำงานของวิธีการประมวลผล
ตอบ - เริ่มจากการรับข้อมูล
ขั้นที่1 กำหนดผลรวมให้เป็น 0 เช่น (Sum = 0)
ขั้นที่2 อ่านค่าตัวแปร X
- การประมวลผล
ขั้นที่3 คำนวนผลรวม Sum = Sum + X
ขั้นที่4 ตรวจสอบเงื่อนไขว่า X = 100 หรือยัง
- การแสดงผลลัพธ์
ขั้นที่5 ถ้าครบพิมพ์ค่าผลรวม "Sum of 1-100 =", Sum
ขั้นที่6 จบการทำงาน

ตอนที่ 2 จงทำเครื่องหมายกากบาท (x) ลงหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุด

1. ข้อใดคือขั้นตอนที่สำคัญก่อนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ตอบ ก. กำหนดขอบเขตของปัญหา

2. การคอมไพล์โปรแกรมหมายถึงข้อใด
ตอบ ค. การคอมไพล์ให้เป็นภาษาเครื่อง

3. ข้อใดคือขั้นตอนการพัฒนาลำดับขั้นตอนการทำงานเพื่อแก้ปัญหา
ตอบ ค. การรวบรวมรายละเอียดของปัญหา

4. หน่วยความจำมีหน้าที่อย่างไร
ตอบ ข. อุปกรณ์ที่ใช้เก็บ-จำข้อมูล

5. ข้อใดกล่าวถึงคำว่า "แอดเดรส"
ตอบ ค. แสดงถึงตำแหน่ง

6. ตรรกะมีความหมายว่าอย่างไร
ตอบ ง. เหตุผลที่ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ

7. MOD หมายถึงการหารในลักษณะใด
ตอบ ข. การหารโดยคิดเฉพาะเศษที่ได้จากการหาร

8. ข้อใดคือสัญลักษณ์ทางตรรกะศาสตร์
ตอบ ก. And, Or, Not

9. สัญลักษณ์เซตนี้ E ใช้แทนความหมายข้อใด
ตอบ ข. เป็นสมาชิกของ

10. สัญลักษณ์ ใช้แทนความหมายข้อใด
ตอบ ค. ไม่เป็นสมาชิกของ

11. หลักเกณฑ์การแก้ปัญหาโจทย์ด้วยคอมพิวเตอร์มีกี่ข้อ
ตอบ ง. 5 ข้อ

12. ข้อใดถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนโปรแกรม
ตอบ ข. การแก้ปัญหาโจทย์ด้วยคอมพิวเตอร์

13. ข้อใดคือลำดับขั้นตอนการทำงานแรกของวิธีการประมวลผล
ตอบ ก. การรับข้อมูล

14. ข้อใดคือลำดับขั้นตอนการทำงานที่สองของวิธีการประมวลผล
ตอบ ข. การประมวลผล

15. ข้อใดคือลำดับขั้นตอนการทำงานที่สามของวิธีการประมวลผล
ตอบ ค. การแสดงผลลัพธ์

หลักการเขียนโปรแกรม

จุดประสงค์รายวิชา
  1. มีทักษะในการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี (Alogorithm) เพื่อแก้ปัญหาอย่าง่าย
  2. รู้ขั้นตอนวิธีการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา
  3. มีทักษะในการเขียนผังงาน (Flowchart)
  4. มีทักษะในการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode) จากผังงาน
  5. ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมขนาดเล็ก
  6. มีกิจนิสัยการทำงานอย่างมีระเบียบ

มาตรฐานรายวิชา

  1. อธิบายความหมายและความสำคัญของหลักการเขียนโปรแกรม
  2. วิเคราะห์ขั้นตอน วิธีการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
  3. ประยุกต์ใช้ผังงานและรหัสเทียมช่วยการเขียนโปรแกรม
  4. ออกแบบโปรแกรมขนาดเล็ก
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการ ขั้นตอน วิธิวิเคราะห์ปัญหาเขียนโปรแกรม กระบวนการทำงานในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ตรรกะกับเซต ตรรกะกับการแก้โจทย์ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ การเขียนผังงาน การเขียนรหัสเทียม การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมขนาดเล็ก