วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1

ตอนที่ 1 จงเติมคำหรือข้อความลงในช่องว่างให้ได้ใจความสมบูณร์

1. จงบอกขั้นตอนการเขียนโปรแกรมเป็นข้อ ๆ
ตอบ 1.กำหนดขอบเขตของปัญหา
2.การพัฒนางำดับขั้นตอนการทำงานเพื่อแก้ปัญหา
3.การออกแบบโปรแกรม
4.เขียนโปรแกรม
5.การคอมไพล์โปรแกรม
6.การทดสอบโปรแกรม
7.การจัดทำเอกสารประกอบโปรแกรม

2. โครงสร้างใหญ่ ๆ ของคอมพิวเตอร์มีกี่หน่วย อะไรบ้าง
ตอบ 5 หน่วย 1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
2. หน่วยความจำ (Memore Unit)
3. หน่วยคำนวน (Arithmetic Unit)
4. หน่วยควบคุม (Control Unit)
5. หน่วยแสดงผล (Output Unit)

3. จงอธิบายความหมายของตรรกะ
ตอบ หมายถึง เหตุผลที่ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ตรรกะเป็นพื้นฐานเพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์จะทำงานสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านตรรกะ

4. ให้ยกตัวอย่างตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
ตอบ + บวก - ลบ * คูณ / หาร (b*B-4*a*c)/(2*a)

5. จงอธิบายความหมายของเซต
ตอบ ในทางคณิตศาสตร์ ใช้ความหมายของคำว่า กลุ่ม หมู่ เหล่า กอง ฝูง ชุดและเมื่อกล่าวถึงเซตของสิ่งใด ๆ จะรู้ได้ทันทีว่าในเซตนั้นมีอะไรบ้าง เรียกสิ่งที่อยู่ในเซตว่า "สมาชิก"

6. จงบอกสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเซต
ตอบ 1. สามารถใช้วงกลม วงรี แทนเซตต่างๆได้
2. ชื่อเซตที่นิยมใช้ตัวใหญ่ทั้งหมด เช่น A,B,C, ......,Z
3. สัญลักษณ์

7. จงอธิบายเซตว่างแตกต่างกับเซตจำกัดอย่างไร
ตอบ เซตว่างคือเซตที่ไม่มีสมาชิกเลย
เซตจำกัดคือเซตที่มีจำนวนสมาชิกเท่ากับจำนวนเต็มบวกหรือศูนย์

8. จงบอกหลักเกณฑ์การแก้ปัญหาโจทย์ด้วยคอมพิวเตอร์
ตอบ 1. สิ่งที่โจทย์ต้องการ
2. รูปแบบของผมลัพธ์ที่ต้องการ
3. ข้อมูลนำเข้า
4. ตัวแปรที่ใช้
5. วิธีการประมวลผล

9. ให้ยกตัวอย่างชื่อตัวแปรและใช้แทนตัวแปรอะไร อย่างน้อย 3 ตัวแปร
ตอบ Tax = ภาษี
Net = เงินสุทธิ
Total = เงินรวม

10. จงบอกลำดับขั้นตอนการทำงานของวิธีการประมวลผล
ตอบ - เริ่มจากการรับข้อมูล
ขั้นที่1 กำหนดผลรวมให้เป็น 0 เช่น (Sum = 0)
ขั้นที่2 อ่านค่าตัวแปร X
- การประมวลผล
ขั้นที่3 คำนวนผลรวม Sum = Sum + X
ขั้นที่4 ตรวจสอบเงื่อนไขว่า X = 100 หรือยัง
- การแสดงผลลัพธ์
ขั้นที่5 ถ้าครบพิมพ์ค่าผลรวม "Sum of 1-100 =", Sum
ขั้นที่6 จบการทำงาน

ตอนที่ 2 จงทำเครื่องหมายกากบาท (x) ลงหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุด

1. ข้อใดคือขั้นตอนที่สำคัญก่อนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ตอบ ก. กำหนดขอบเขตของปัญหา

2. การคอมไพล์โปรแกรมหมายถึงข้อใด
ตอบ ค. การคอมไพล์ให้เป็นภาษาเครื่อง

3. ข้อใดคือขั้นตอนการพัฒนาลำดับขั้นตอนการทำงานเพื่อแก้ปัญหา
ตอบ ค. การรวบรวมรายละเอียดของปัญหา

4. หน่วยความจำมีหน้าที่อย่างไร
ตอบ ข. อุปกรณ์ที่ใช้เก็บ-จำข้อมูล

5. ข้อใดกล่าวถึงคำว่า "แอดเดรส"
ตอบ ค. แสดงถึงตำแหน่ง

6. ตรรกะมีความหมายว่าอย่างไร
ตอบ ง. เหตุผลที่ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ

7. MOD หมายถึงการหารในลักษณะใด
ตอบ ข. การหารโดยคิดเฉพาะเศษที่ได้จากการหาร

8. ข้อใดคือสัญลักษณ์ทางตรรกะศาสตร์
ตอบ ก. And, Or, Not

9. สัญลักษณ์เซตนี้ E ใช้แทนความหมายข้อใด
ตอบ ข. เป็นสมาชิกของ

10. สัญลักษณ์ ใช้แทนความหมายข้อใด
ตอบ ค. ไม่เป็นสมาชิกของ

11. หลักเกณฑ์การแก้ปัญหาโจทย์ด้วยคอมพิวเตอร์มีกี่ข้อ
ตอบ ง. 5 ข้อ

12. ข้อใดถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนโปรแกรม
ตอบ ข. การแก้ปัญหาโจทย์ด้วยคอมพิวเตอร์

13. ข้อใดคือลำดับขั้นตอนการทำงานแรกของวิธีการประมวลผล
ตอบ ก. การรับข้อมูล

14. ข้อใดคือลำดับขั้นตอนการทำงานที่สองของวิธีการประมวลผล
ตอบ ข. การประมวลผล

15. ข้อใดคือลำดับขั้นตอนการทำงานที่สามของวิธีการประมวลผล
ตอบ ค. การแสดงผลลัพธ์

หลักการเขียนโปรแกรม

จุดประสงค์รายวิชา
  1. มีทักษะในการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี (Alogorithm) เพื่อแก้ปัญหาอย่าง่าย
  2. รู้ขั้นตอนวิธีการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา
  3. มีทักษะในการเขียนผังงาน (Flowchart)
  4. มีทักษะในการเขียนรหัสเทียม (Pseudocode) จากผังงาน
  5. ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมขนาดเล็ก
  6. มีกิจนิสัยการทำงานอย่างมีระเบียบ

มาตรฐานรายวิชา

  1. อธิบายความหมายและความสำคัญของหลักการเขียนโปรแกรม
  2. วิเคราะห์ขั้นตอน วิธีการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
  3. ประยุกต์ใช้ผังงานและรหัสเทียมช่วยการเขียนโปรแกรม
  4. ออกแบบโปรแกรมขนาดเล็ก
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการ ขั้นตอน วิธิวิเคราะห์ปัญหาเขียนโปรแกรม กระบวนการทำงานในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ตรรกะกับเซต ตรรกะกับการแก้โจทย์ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ การเขียนผังงาน การเขียนรหัสเทียม การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมขนาดเล็ก