วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

RAM

แรม
RAM ย่อมาจากคำว่า RandomAccessMemoryเป็นหน่วยความจำของระบบมีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้CPUประมวลผลจะต้องมีไฟเข้า Module ของ RAM ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็น chipที่เป็น IC ตัวเล็กๆถูก pack อยู่บนแผงวงจร หรือ Circuit Board เป็น module เทคโนโลยีของหน่วยความจำมีหลักการที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน 2 เทคโนโลยี คือหน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDRSDRAM,DDRSGRAM)ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบSDRAMและSGRAMและอีกหนึ่งคือหน่วยความจำแบบ Rambus ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแนวคิดบางส่วนต่างออกไปจากแบบอื่น
ประเภทของแรมเราสามารถแบ่ง แรม ออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. SRAMหรือมาจากคำเต็มว่าStaticRAMซึ่งจะเป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้ตลอดเวลาค่ะโดยที่ไม่ต้องมีการรีเฟรชข้อมูลSRAMจะมีความเร็วในการทำงานสูงแต่ในขณะเดียวกันSRAMก็จะกินไฟมากและมีราคาแพงกว่าDRAMมากดังนั้นเราจึงไม่นิยมนำมาทำเป็นหน่วยความจำหลักแต่จะนิยมใช้ SRAM ไปทำเป็นหน่วยความจำแคช หรือ Cache Memory แทน
2. DRAMหรือมาจากคำว่าDynamicRAMซึ่งก็จะเป็นหน่วยความจำที่ต้องมีการรีเฟรชข้อมูลอยู่ตลอดเวลาเลยเพื่อไม่ให้ข้อมูลในหน่วยความจำนั้นสูญหายไปสำหรับการรีเฟรช(Refresh)ก็คือข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำชนิดDRAMนี้จะเก็บอยู่ในรูปของประจุไฟฟ้าซึ่งประจุไฟฟ้านี้จะสูญหายไปถ้าไม่มีการเติมประจุไฟฟ้าตามระยะเวลาที่กำหนดดังนั้นจึงต้องมีวงจรสำหรับการทำรีเฟรชหน่วยความจำชนิดDRAMแต่หน่วยความจำชนิดDRAMก็มีข้อดีของมันเหมือนกันนั่นก็คือมีราคาที่ถูกและสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าด้วยดังนั้นเราจึงนิยมใช้หน่วยความจำชนิด DRAM นี้มาเป็นหน่วยความจำหลักของระบบคอมพิวเตอร์
แรมแบบ DRAM สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด ซึ่งจะมีดังต่อไปนี้

1. EDO DRAM ย่อมาจากคำว่า Extended Data Out DRAM ค่ะ ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิด DRAM ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท ไมครอนหน่วยความจำชนิด EDO เริ่มมีใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเพนเทียมในยุคแรกๆและจะมี72Pinสำหรับเสียบสล็อตแบบSIMM(SingleInlineMemoryModule)จะทำงานในแบบ32บิตเพราะว่ามีหน้าสัมผัสเพียงแค่ด้านเดียวค่ะเพราะฉะนั้นถ้าเราจะใช้กับซีพียูที่ทำงานในแบบ64บิตก็จะต้องใส่เป็นคู่ค่ะถึงจะสามารถทำงานได้ปัจจุบันอาจจะดูล้าสมัยไปแล้วเพราะเป็นแรมชนิดที่เก่าและทำงานได้ช้าจึงไม่นิยมใช้กันแล้ว

2. SDRAM ย่อมาจากคำว่า Rambus DRAM ค่ะ คือจะเป็นหน่วยความจำชนิด DRAM และ SDRAM จะมีลักษณะเป็นแผงจำนวน168Pinสำหรับเสียบลงในสล็อตแบบ DIMM(DualInlineMemoryModule)เพราะว่ามีหน้าสัมผัสทั้งสองด้านจึงทำงานได้ในแบบ64บิตเพราะฉะนั้นถ้าเราจะใช้เราก็สามารถเสียบลงบนเมนบอร์ดทีละ 1 อันได้เลยค่ะ โดย SDRAM จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลตั้งแต่ 66 MHz, 100 MHz และ 133 MHz เป็นต้นค่ะ ปัจจุบันหน่วยความจำแบบ SDRAM จะค่อยๆ ลดความนิยมไปแล้ว และคิดว่ากำลังจะหายไปจากตลาดในไม่ช้านี้

3. DDR SDRAM หรือ SDRAM IIDDR SDRAM ย่อมาจากคำว่า Double Data Rate Synchronous DRAM ค่ะ เป็นแรมที่มีการพัฒนาต่อจาก SDRAM ค่ะ เพื่อที่จะให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัวเลยDDRSDRAMได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแข่งกับแรมแบบRambusและDDRSDRAMมีขนาดความจุตั้งแต่128MBขึ้นไปค่ะซึ่งจะมีลักษณะเป็นแผงไว้สำหรับเสียบลงในสล็อตแบบDIMMเหมือนกันกับSDRAMเพียงแต่ว่าDDRSDRAMจะมี184Pinและเป็นแรมที่กำลังได้รับความนิยมมากที่สุดอยู่ในขณะนี้ แถมราคาก็ไม่แพงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับ Rambus DRAM ค่ะ โดยในปัจจุบันDDR SDRAM มีออกมาให้ใช้กันอยู่ 3 รุ่น คือ รุ่น PC1600, PC2100 และPC2700ซึ่งในแต่ละรุ่นจะมีความเร็ว200MHz,266MHzและ333MHzและนอกจากนี้มันยังสามารถใช้งานกับซีพียูชนิดใดก็ได้ค่ะไม่มีข้อจำกัดและในปัจจุบัน DDR SDRAM ยังถือเป็นหน่วยความจำที่มีมาตรฐานด้วย

4. RDRAMย่อมาจากคำว่าRambusDRAMเป็นแรมที่มีความเร็วมากที่สุดและมีราคาแพงมากที่สุดด้วยค่ะจะมีจำนวน184PinและRDRAMเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย บริษัท Rambus และมี บริษัท Intel เป็นผู้สนับสนุนด้วยค่ะ แรมชนิดนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับความเร็วระบบบัสที่สูงขึ้นถึง 400 MHz และ800MHzซึ่งจะเหมาะกับการใช้งานประเภทมัลติมีเดียอย่างเช่นการใช้แสดงภาพ3มิติเป็นต้นและจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยและก็มีลักษณะเป็นแผงโดยแต่ละแผงจะเสียบลงในช่องของRambusหนึ่งช่องซึ่งจะเรียกว่าRIMMคือRambusInlineMemoryModuleซึ่งจะใส่แค่เพียงหนึ่งช่องแค่นี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณก็จะสามารถทำงานได้แล้ว และแรมชนิดนี้ Intel ตั้งใจจะนำมาใช้งานกับซีพียู รุ่น Pentium 4 เท่านั้นค่ะ และเมนบอร์ดก็จะต้องใช้ชิปเช็ตที่สนับสนุนด้วยซึ่งได้แก่ ชิปเซ็ต i850 ของอินเทลเป็นต้นค่ะ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้กันมากนัก เพราะว่ามีราคาแพง

อ้างอิง http://comschool.site40.net/M1.html

เทคโนโลยีของ DRAM ที่ใช้ใน PC
เริ่มจากอดีต ตั้งแต่ยุคสมัยเริ่มต้นของการใช้ PC มีการนำเอาสแตติกแรมมาใช้ แต่ขนาดของ RAM ในขณะนั้นมีเพียง 8-16 กิโลไบต์ ซึ่งต้องใช้พื้นที่บอร์ดขนาดใหญ่ ครั้นถึงยุคพีซีที่แพร่หลาย เช่น เครื่องแอบเปิ้ลทู การใช้หน่วยความจำเริ่มหันมาใช้แบบ DRAM
เมื่อมีการพัฒนา PC โดยบริษัทไอบีเอ็มที่เป็นต้นแบบที่เรียกว่า พีซีเอ็กซ์ที ไอบีเอ็มเลือกใช้ DRAM และเริ่มต้นด้วยขนาด 64 K ไบต์ และขยายมาเป็น 640 K ไบต์ ขยายเพิ่มจนหลายร้อยเมกะไบต์ในปัจจุบัน
ในยุคแรกการใช้ DRAM ยังใช้เป็นชิพ ไม่มีเทคนิคอะไรมากนัก เพราะซีพียูทำงานด้วยความเร็วเพียง 4-10 เมกะเฮิร์ทซ์เท่านั้น แต่ต่อมาถึงยุคพีซี 386, 486 ซีพียูเริ่มทำงานที่ความเร็ว 33 MHz จนถึง 66 MHz ซึ่งความเร็วขณะนี้เร็วกว่าการทำงานของหน่วยความจำจึงต้องเริ่มใช้เทคนิคการชลอที่เรียกว่า ให้จังหวะรอ (CPU-Wait State) ทำให้การทำงานไม่ได้เร็วอย่างที่ต้องการ
หากพิจารณาที่ชิพหรือข้อกำหนดของ DRAM จะพบว่ามีข้อกำหนดที่สำคัญคือ ช่วงเวลาเข้าถึง ซึ่งกำหนดเป็นหน่วย นาโนวินาที (หนึ่งในสิบกำลังลงเก้า หรือหนึ่งในพันล้านวินาที) หากซีพียูวิ่งด้วยความเร็ว 10 เมกะเฮิร์ทซ์ จะมีวงรรอบสัญญาณนาฬิกา 100 นาโนวินาที ถ้าความเร็วเพิ่มเป็น 100 เมกะเฮิร์ทซ์ ก็จะมีช่วงเวลาวงรอบของสัญญาณนาฬิกาเหลือ 10 นาโนวินาที ซึ่งเร็วขึ้นมาก และยิ่งในปัจจุบันใช้สัญญาณนาฬิกาสูงขึ้นอีกมาก
ดังนั้นการใช้วิธีการเชื่อมต่อกับชิพโดยตรงเหมือนในยุคแรกคงไม่ได้ จึงมีผู้ผลิตแผ่นวงจรหน่วยความจำ โดยทำเป็นแผงเล็ก ๆ ภายในมีวงจรเชื่อมต่อที่ใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าถึง เทคโนโลยีการผลิตแผงหน่วยความจำจึงเริ่มขึ้นและมีให้เลือกใช้ได้มากตามเวลาที่ผ่านมา
เริ่มจาก FPM DRAM
FPM มาจากคำว่า Fast Page Mode เป็น DRAM ในยุคแรกของรุ่น 486 โดยเพิ่มความเร็วในลักษณะแบ่งหน่วยความจำเป็นหน้าตามโครงสร้างที่แบ่งเป็นแถวและสดมภ์ โดยหากอ่านหรือเขียนหน่วยความจำในห้องเดียวกัน ก็ไม่จำเป็นต้องส่งค่าแอดเดรสในระดับแถวไป เพราะกำหนดไว้ก่อนแล้ว คงส่งเฉพาะสดมภ์เท่านั้น จึงทำให้ได้ความเร็วเพิ่มขึ้นอีก หน่วยความจำแบบ FPM ได้รับการนำมาใช้ในช่วงเวลาไม่นานนัก ปัจจุบันเลิกผลิตแล้ว
หน่วยความจำ EDO
EDO RAM
EDO ย่อมาจาก Extended Data Output เป็นเทคโนโลยีที่ปรับปรุงมาจาก FPM และนำมาใช้ในยุคการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่เพนเตียม หลักการของ EDO เน้นการซ้อนเหลี่ยมจังหวะการทำงาน ซึ่งขณะการทำงานที่ซ้อนเหลี่ยมนี้ทำให้ได้ความเร็วเพิ่มขึ้นอีกมาก หน่วยความจำแบบ EDO จึงเป็นที่รู้จักกันดีในช่วงเวลาหนึ่ง ปัจจุบันเลิกผลิตแล้วเช่นกัน
การซ้อนเหลี่ยมจังหวะการทำงานนี้ ทำให้ช่วงเวลาการเข้าถึงของซีพียูทำได้เร็วขึ้นกว่าเดิม และลดจังหวะการทำงานไปได้หลายจังหวะ ทั้งนี้ต้องคิดโดยรวมของประสิทธิภาพทั้งหมด หน่วยความจำ SDRAM
SDRAM
SDRAM เป็นคำย่อมาจาก Synchronous DRAM เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมา ซึ่งหน่วยความจำก่อนหน้านี้ใช้ระบบอัสแบบอะซิงโครนัส นั่นหมายถึงจังหวะการทำงานของซีพียูกับหน่วยความจำใช้สัญญาณนาฬิกาคนละตัว จังหวะการทำงานที่ไม่ซิงโครไนซ์กัน จึงเป็นปัญหา เพราะเทคโนโลยีซีพียูต้องการความเร็วและมีการสร้างระบบบัสมาตรฐานขึ้นมา ที่เรียกว่า PC66 PC100 PC133 หรือ PC200 ตัวเลขหมายถึงความเร็วสัญญาณนาฬิกาในบัส ซึ่งตัวเลขเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดความเร็วในการรับส่งข้อมูล
มาตรฐานจังหวะการทำงานของพีซีแสดงดังตารางที่ 1
ความเร็วบัสแบบ
ความเร็วแท้จริง
จังหวะการทำงาน
PC 66
66 MHz
15 ns
PC 100
100 MHz
10 ns
PC 100
125 MHz
8 ns
PC 133
133 MHz
7.5 ns
การออกแบบ SDRAM จึงเน้นการซิงโครไนซ์เข้ากับระบบบัสมาตรฐานเพื่อให้จังหวะการทำงานของการเขียนหรืออ่านหน่วยความจำเป็นจังหวะที่แน่นอน และด้วยวิธีนี้จะทำให้หน่วยความจำแบบ SDRAM มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าแบบ EDO
ปัจจุบัน (2545) SDRAM ยังมีใช้อยู่ แต่กำลังจะหมดสมัยในไม่ช้านี้


หน่วยความจำแบบ DDR-RAM
เป็นหน่วยความจำที่กำลังอยู่ในสมัยนิยม (2545) DDR ย่อมาจากคำว่า Double Data Rate ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อมาจาก SDRAM ในช่วงแรกบริษัทอินเทลไม่พัฒนาชิพเซตสนับสนุน ดังนั้นผู้ผลิตรายอื่น เช่น เอเอ็มดี และผู้ผลิตชิพเซตชั้นนำจากไต้หวันจึงรวมกันและพัฒนาเทคโนโลยี้นี้จนได้รับความนิยมสูง บริษัทผู้ผลิตชิพเซตและสร้างเมนบอร์ดชั้นนำของโลกจากไต้หวันที่ผลิตได้แก่ VIA, SiS, ALi
DDR เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาครั้งแรกเพื่อเป็นการ์ดหน่วยความจำในภาคแสดงผล และเป็นตัวเร่งการแสดงผล แต่ต่อมาเห็นว่าเทคโนโลยีนี้เหมาะที่จะนำมาใช้เป็นหน่วยความจำหลักด้วย
DDR RAM
ลักษณะของการเชื่อมต่อกับบัสของซีพียูยังคงใช้ระบบมาตรฐานเดิมแบบ PC 100 หรือ PC 133 แต่ด้วยเทคโนโลยีที่สร้างทำให้ได้เส้นทางคู่ขนาน ความเร็วในการขนส่งข้อมูลกับหน่วยความจำจึงมีได้เป็นสองเท่าของ SDRAM เนื่องจากแนวคิดหลายอย่างนำมาจาก SDRAM ทำให้หน่วยความจำนี้ราคาไม่สูงมากนัก และปัจจุบันกำลังพัฒนา DDR II ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่สอง โดยจะเพิ่มความเร็วในการขนส่งอีกสองเท่าตัว หน่วยความจำแบบ DDR มีขาทั้งหมด 184 ขา ซึ่งมากกว่า SDRAM ซึ่งมีเพียง 168 ขา ดังนั้นจึงใช้แทนกันไม่ได้ RDRAM
หน่วยความจำ RDRAM
RDRAM ย่อมาจาก Rambus DRAM เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาในแนวทางที่แยกออกไป โดยมีการสร้างระบบการเชื่อมต่อใหม่และต้องใช้วงจรพิเศษ RDRAM ได้รับการสนับสนุนจากอินเทล ดังนั้นพีซีที่ใช้ RDRAM จึงต้องใช้ชิพสนับสนุนของอินเทล RDRAM มีแถบกว้างการขนส่งข้อมูลได้สูง
RDRAM มีหลายเวอร์ชัน ซึ่งได้แก่ รุ่น B-Base, C-Concurrence และ D-Direct แต่ละรุ่นจะมีการขนส่งข้อมูลได้สูงต่างกับรุ่นที่สูงสุดในขณะนี้สามารถขนส่งข้อมูลได้ถึง 800 MHz

ข้อพิจารณาที่สำคัญ
ในการพิจารณาการเลือกใช้ RAM จึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะต้องเข้าใจในเรื่องประสิทธิภาพต่อราคา RDRAM มีราคาที่สูงกว่า DDRAM มาก โดยปกติเราวัดประสิทธิภาพของการขนส่งข้อมูลด้วยค่าแถบกว้าง หรือที่เรียกว่า แบนด์วิดช์ (band width) DDR-RAM ที่ใช้ PC 200 หรือ 200 MHz แต่มีการขนส่งข้อมูลได้ 8x200 เท่ากับ 1600 เมกะไบต์ต่อวินาที (ขนส่งข้อมูลบนบัสขนาด 64 บิต) และถ้าเพิ่มความเร็วเป็น 266 MHz ก็จะได้แถบกว้างเป็น 2.1 จิกะไบต์ต่อวินาที ขณะที่ RDRAM แบบ PC 800 จะมีแถบกว้างได้ถึง 3.2 จิกะบิตต่อวินาที ซึ่งแน่นอนราคาของ RDRAM ยังแพงกว่า DDR-RAM อยู่มาก
การเลือกใช้หน่วยความจำจึงจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีอยู่บ้าง การเลือกขนาดของหน่วยความจำก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความจุของหน่วยความจำต่อแผงได้เพิ่มขึ้นทุกปี เทคโนโลยีพีซีจึงเป็นเทคโนโลยีไม่หยุดนิ่ง หลายสิ่งหลายอย่างทางเทคโนโลยีวันนี้มีความทันสมัย แต่ครั้นเวลาผ่านไปไม่นานก็ล้าสมัยเสียแล้ว

อ้างอิง http://www.ku.ac.th/magazine_online/select_ram.html

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

mainframe computer

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมาก เมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี


บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด


ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม

อ้างอิง http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/index2.htm#main_com

เครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงมากและมักจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและอุปกรณ์อื่น ๆ พ่วงต่ออยู่ด้วยเสมอ เครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้รับการออกแบบมาสำหรับผู้ใช้จำนวนตั้งแต่ไม่กี่คนไปจนถึงนับร้อยคนสามารถใช้งานต่าง ๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน จึงมักจะทำหน้าที่เป็นโฮสต์เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ตามปกตินั้นสามารถเข้าสู่ระบบเครือข่ายได้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น การใช้งานในบริษัทรับประกันวินาศภัยแห่งหนึ่งซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ โดยมีสาขาประจำภาคอยู่อีกสามแห่ง คือที่ราชบุรี เชียงราย และ ภูเก็ต แต่ละสาขาประจำภาคก็จะมีสาขาย่อยอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ โดยรอบสาขาใหญ่นั้น ๆ ที่สำนักงานใหญ่และสาขาประจำภาคจะมีเครื่องเมนเฟรมที่เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กของสาขาประจำจังหวัดในกลุ่มนั้น ๆ เข้าด้วยกันและเมนเฟรมทั้งสี่เครื่องก็จะถูกเชื่อมต่อถึงกัน ซึ่งลักษณะโครงสร้างแบบนี้จะช่วยลดปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่านระหว่างเครื่องเมนเฟรมลง และยังช่วยให้การตอบสนองระหว่างผู้ใช้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นเช่น ผู้ใช้ในจังหวัดหนึ่งสามารถติดต่อกับเครื่องเมนเฟรมประจำกลุ่มของตนเองได้โดยตรง ส่วนผู้บริหารระดับสูงก็สามารถตรวจสอบรวบรวมข้อมูลจากเครื่องเมนเฟรมทั้งสี่แห่งเข้าด้วยกันได้ตลอดเวลาที่ต้องการ


ภาพที่ 2.15 แสดงเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลโดยมีเครื่องเมนเฟรมทำหน้าที่เป็นโหนด
เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีราคาแพงมากและระบบมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อน จึงไม่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทอร์มินอล แต่ในทางกลับกัน จะมีเครื่องเทอร์มินอลจำนวนมากเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องเมนเฟรมซึ่งทำหน้าที่เป็นโฮสต์ให้บริการสารพัดอย่างแก่เทอร์มินอลเหล่านั้นรวมทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายด้วย

ในปัจจุบัน บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน (โดยเฉพาะในประเทศไทย) ได้เลิกใช้เครื่องเมนเฟรมแล้วหันไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อทำหน้าที่อย่างเดียวกัน แต่มี ค่าใช้จ่ายถูกกว่ามาก อย่างไรก็ตามยังคงมีบริษัทและองค์กรขนาดใหญ่อีกเป็นจำนวนมากที่ยังคงใช้เครื่องเมนเฟรมอยู่ในการให้บริการทุกชนิดแก่บุคลากรในองค์กรนั้น ๆ งานหลายชนิดก็มีความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องเมนเฟรม เช่น การพยากรณ์อากาศ การคำนวณขนาดใหญ่ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น เครื่องเมนเฟรมยังคงยิ่งใหญ่เหนือเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กในเรื่องค่าใช้จ่ายโดยรวมที่ต่ำกว่า เรื่องความปลอดภัยของข้อมูลที่ดีกว่า การขยายขีดความสามารถได้มากกว่า ความไว้วางใจได้ในระดับที่สูงกว่า และวิธีการควบคุมระบบทั้งระบบจากศูนย์กลางเพียงแห่งเดียว

อ้างอิง http://www.dcs.cmru.ac.th/lesson2_7.php

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
1.) ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
ส่วนรับข้อมูล (Input Unit) เป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากคน และส่งต่อข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผล(Process Unit) เพื่อทำการประมวลผลต่อไป รูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัสดิจิตอล (หรือเป็นเลข 0 กับ 1) นั่นเอง อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ได้แก่ - คีย์บอร์ด (keyboard)
- เมาส์ (mouse)



- สแกนเนอร์ (scanner) สแกนเนอร์ (Scanner) คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของ อนาล็อกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถแสดง เรียบเรียง เก็บรักษาและผลิต ออกมาได้ ภาพนั่นอาจจะเป็น รูปถ่าย ข้อความภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ
- อุปกรณ์สแกนลายนิ้วมือ (finger scan)



- ไมโครโฟน(microphone)
- กล้องเว็บแคม (webcam) อุปกรณ์ใน ส่วนรับข้อมูล ยังมีอีกมากมายและสามารถจะยังมีเพิ่มตามขึ้นไปเรื่อยๆ ตามการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
2.) ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่รับมาจาก ส่วนรับข้อมูล(Input Unit) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
3.) หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์ที่มาจากการประมวลผลข้อมูล ของส่วนประมวลผลข้อมูล โดยปกติรูปแบบของการแสดงผล มีอยู่ 2 แบบ ด้วยกันคือ แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ และแบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้
- แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และ เครื่องวาด (Plotter)
เครื่องพิมพ์ (Printer)



เครื่องวาด (Plotter)
- แบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ เช่น จอภาพ(Monitor) , เครื่องฉายภาพ(LCD Projector) และ ลำโพง (Speaker)
จอภาพ (monitor) เครื่องฉายภาพ (LCD Projector) 4.) หน่วยความจำ (Memory Unit)
หน่วยความจำ (Memory Unit) อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำชั่วคราวและหน่วยความจำถาวร
- หน่วยความจำชั่วคราว คือ แรม (RAM: Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน ข้อมูลและชุดคำสั่งจะหายไปทุกครั้งที่เราปิดเครื่อง
RAM

- รอม (ROM ย่อมาจาก Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำแบบหนึ่งของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่เก็บคำสั่งและข้อมูลพื้นฐานที่คอมพิวเตอร์จะต้องใช้เอาไว้อย่างถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง หรือลบทิ้งได้ แม้เมื่อไฟดับคำสั่งและข้อมูลที่บันทึกเอาไว้ในรอมก็ยังคงอยู่เป็นปกติไม่หายไปไหน ข้อมูลที่เก็บในรอม คือโปรแกรมพื้นฐานสำหรับควบคุมอุปกรณ์รับคำสั่งและข้อมูล และอาจจะมีตัวแปลคำสั่งภาษาเบสิกอยู่ด้วย
- หน่วยความจำถาวรหรือ หน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ Hard Disk ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง
Harddisk

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ

1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
หน่วยความจำหลัก
หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก
ฮาร์ดแวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

2.ซอฟต์แวร์ (Software)
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
ซอฟต์แวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

3.บุคลากร (Peopleware)
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น
ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังตาราง
มีความสัมพันธ์กัน (relevant)
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
มีความทันสมัย (timely)
ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate)
เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
มีความกระชับรัดกุม (concise)
ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete)
ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน
คุณสมบัติของสารสนเทศที่มีประโยชน์


4.การเปลี่ยนรูปจากข้อมูลสู่สารสนเทศ

กระบวนการทำงาน (Procedure)
กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
เลือกรายการ
ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
รับเงิน
รับใบบันทึกรายการ และบัตร
การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual) เป็นต้น