1.ความหมายของจริยธรรมจริยธรรม
คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ"
จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว
2. ความหมายของจริยธรรมทางธุรกิจ
ความหมายของจริยธรรมธุรกิจ
จรรยาบรรณ หมายถึง มาตรฐานคุณค่าแห่งความดีงามของการกระทำหนึ่ง ๆ และหรือพฤติกรรมโดยรวม ธุรกิจ หมายถึง บุคคล นิติบุคคลหรือองค์กรใด ๆ ที่ดำเนินการผลิตสินค้าบริการเพื่อผลตอบแทนในการลงทุน (กำไร) จรรยาบรรณทางธุรกิจ หมายถึง มาตรฐานการผลิตสินค้าและการให้บริการเพื่อผลตอบแทนตามคุณค่าของการลงทุนโดยเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายเจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน ผู้บริโภค ผู้รับบริการรัฐบาล สังคม ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจร่วมกัน
3. ความหมายของจริยธรรมในทางพระพุทธศาสนา
ระดับของจริยธรรมในพระพุทธศาสนา
ในทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งระดับของธรรมอันเป็นที่มาของจริยธรรมไว้เป็น 2 ระดับ ดังนี้ (สุภาพร พิศาลบุตร, 2546 : 16)
1. ระดับโลกียธรรม โลกียธรรม หมายถึง ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก สภาวะธรรมที่เกี่ยวกับโลก เป็นธรรมในระดับเบื้องต้นของบุคคล จริยธรรมในระดับโลกียธรรมมุ่งให้บุคคลอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทำแต่ความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส จริยธรรมในระดับนี้เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปจะนำไปประพฤติปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติโดยทั่วไปจะนำคำสั่งสอนหรือพุทธวัจนะมาเป็นแนวทางในการกำหนดขอบข่ายของจริยธรรมของแต่ละองค์กรในสังคมให้มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ระเบียบของสังคม จารีต ขนบธรรมเนียม ประเพณี กฎกติกา ข้อบัญญัติ กฎหมายต่าง ๆ เป็นต้น
2. ระดับโลกุตรธรรม โลกุตรธรรม หมายถึง ธรรมที่พ้นวิสัยของโลก สภาวะพ้นโลก พ้นจากกิเลส เป็นธรรมในระดับสูง หรือธรรมสำหรับบุคคลผู้มีสติปัญญาแก่กล้าเข้าใกล้ความเป็นอริยบุคคลหรือผู้หลุดพ้นจากกิเลส ธรรมในระดับนี้แบ่งตามสภาวธรรมของบุคคลเป็น 4 ระดับ คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์ ธรรมที่กล่าวมานี้เป็นธรรมหรือข้อปฏิบัติที่ผู้ประพฤติมีความมุ่งมั่นที่จะฝึกฝนตนเองทั้งกาย วาจา ใจ อย่างระมัดระวังและเคร่งครัดในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ถือเป็นข้อปฏิบัติที่มีวิถีทางที่แตกต่างไปจากจริยธรรมในระดับ โลกียธรรมของบุคคลธรรมดาทั่วไปโดยสิ้นเชิง
ความสัมพันธ์ของจริยธรรมกับพระพุทธศาสนา
ศาสนานับเป็นบ่อเกิดที่สำคัญของจริยธรรม ฉะนั้นหลักธรรมคำสอนในศาสนาจึงมีส่วนสำคัญในฐานะเป็นแหล่งที่มาของหลักจริยธรรมทั้งหลาย ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม หมายถึง ศาสนาที่ไม่เชื่อในเรื่องพระเจ้า พระผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งทั้งมวล แต่เชื่อในเรื่องกฎของธรรมชาติ เชื่อในกฎแห่งกรรม คำสอนในพุทธศาสนา เป็นคำสอนในลักษณะที่เป็นสัจธรรม เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หลักธรรมคำสอนเหล่านี้สมควรที่บุคคลทั่วไปจะนำไปประพฤติปฏิบัติ เพราะการดำเนินชีวิตที่สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรมของบุคคลในสังคมจะก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ การที่บุคคลจะพัฒนาชีวิตให้เจริญก้าวหน้าตงตามความมุ่งหมายได้นั้นจะต้องอาศัยหลักธรรมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า หลักจริยธรรมที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ได้ถือปฏิบัตินั้นมีส่วนความสัมพันธ์กับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพราะยึดถือตามแนวทางของคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นหลัก อีกทั้งยังได้มีการนำเอาหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับวิถีชีวิตของคนไทย ในปัจจุบันด้วย
ด้วยเหตุที่หลักธรรมในพระพุทธศาสนามีมากมาย ฉะนั้นจึงขอยกมากล่าวเท่าที่เห็นว่าเป็นหลักธรรมเบื้องต้นที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์บุคคลให้เป็นผู้ที่มี คุณธรรม จริยธรรมได้ ดังนี้
1.1 ความสำคัญในระดับบุคคล พระพุทธศาสนามีหลักธรรมคำสั่งสอนที่เกี่ยวกับความประพฤติ และข้อปฏิบัติที่ดีงามสามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้ ทั้งยังเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจทำให้เกิดความอบอุ่น และผ่อนคลายความทุกข์โศกของบุคคลทั่วไปได้
1.2 ความสำคัญในระดับสังคม พระพุทธศาสนาจัดเป็นเครื่องจรรโลงสังคมที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาสอนเกี่ยวกับการทำความดี ละเว้นความชั่ว ความเมตตากรุณา ความซื่อสัตย์ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีต่อกัน สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่สังคมได้อย่างยิ่ง ตัวอย่างข้อธรรมะปฏิบัติในพระพุทธศาสนาที่สามารถใช้แนวทางให้แก่บุคลในสังคมได้ประพฤติกัน ได้แก่ สังคหวัตถุธรรม อันเป็นธรรมที่สงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ทำให้บุคคลในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสงบสุข
1.3 ความสำคัญในระดับประเทศ พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนคนไทยนับตั้งแต่โบราณกาล เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย และข้อสำคัญเป็นหลักในการสั่งสอนอบรมให้ชาติเป็นคนดี มีศีลธรรม มีน้ำใจและอัธยาศัยไมตรีอันดี รู้จักหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีความเคารพต่อกฎระเบียบและกฎหมายของบ้านเมือง รู้จักรักและหวงแหนวัฒนธรรมประเพณีที่บรรพบุรุษได้สั่งสมสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน การปลูกฝังสิ่งดีงามที่กล่าวมานี้ พระพุทธศาสนามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างและส่งเสริมให้คนในชาติมีคุณธรรมและจริยธรรมประจำใจ
1.4 ความสำคัญในระดับโลก ศาสนามีส่วนสำคัญในการจรรโลงใจโลกไว้ไม่ให้เจริญในด้านวัตถุเพียงอย่างเดียว หากโลกมีความเจริญแต่ด้านวัตถุเพียงเดียวมนุษยชาติจะไม่ได้พบกับความสงบสุขกันเลย เหมือนดังที่บางประเทศกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ เหตุเพราะมีความเจริญแต่ทางวัตถุ ขาดสิ่งควบคุมอำนาจของวัตถุ คือความเจริญทางด้านจิตใจ ดังนั้นมนุษย์จึงควรมีความเจริญทางด้านจิตใจควบคู่กันไปกับความเจริญทางด้านวัตถุ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาที่ถูกทิศทางพระพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาที่พัฒนาบุคคลทั้งทางกายและจิตใจไปพร้อมๆกัน และให้ความสำคัญของจิตใจมากกว่าวัตถุ สอนให้มนุษย์เข้าถึงความสงบของจิตใจ อันเป็นเหตุให้เกิดความสันติสุขขึ้นในโลก จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีชาวต่างชาติทั้งชาวยุโรปและ เอเชียหลายประเทศด้วยกันให้ความสนใจและหันมาศึกษาพระพุทธศาสนากันมากขึ้น ฉะนั้นจึงนับได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สำคัญของชาวโลกทั้งมวล
4. องค์ประกอบของจริยธรรม
องค์ประกอบสำคัญของจริยธรรม
1. ความเฉลียวฉลาด (wisdom)
2. ความกล้าหาญ (courage)
3. ความรู้จักเพียงพอ (temperance)
4. ความยุติธรรม (justice)
5. ความมีสติ (conscience)
1) ระเบียบวินัย (Discipline) การที่สังคมจะมีระเบียบวินัย ในสังคมจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นไปตามข้อตกลงของสังคม อันได้แก่ กฎหมาย จารีต ประเพณี
2) สังคม (Society) การรวมกลุ่มกันเป็นสังคมหรือประกอบกิจกรรมใด ในสังคมก็ตามจะต้องมีแบบแผน มุ่งเน้นหรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
3) อิสระเสรี (Autonomy) การมีอิสระเสรีนั้นสังเกตได้จากการที่บุคคลในสังคมมีเสรีภาพในการปกครองตน
5. ประเภทของจริยธรรม
ประเภทของจริยธรรม
การแบ่งประเภทของจริยธรรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. จริยธรรมภายนอก เป็นจริยธรรมที่บุคคลแสดงออกทางพฤติกรรมภายนอกที่ปรากฏให้เป็นที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ความรับผิดชอบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความมีวินัย การตรงต่อเวลา เป็นต้น
2. จริยธรรมภายใน เป็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติของบุคคลตามสภาพของจิตใจและสภาวะแวดส้อม เช่น ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น
ประโยชน์ของจริยธรรมธุรกิจ
1. จริยธรรมก่อให้เกิดความมุ่งมั่นของพนักงานในองค์กร
2. จริยธรรมก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร
3. จริยธรรมก่อให้เกิดความมั่นใจของนักลงทุน
4. จริยธรรมก่อให้เกิดความสงบสุขของสังคม
5. จริยธรรมก่อให้เกิดความเจริญของประเทศชาติ
6. โครงสร้างในด้านคุณลักษณะของจริยธรรม
คุณลักษณะของจริยธรรมเป็นสิ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของจริยธรรมเพื่อให้เห็นเด่นชัดในด้านหนึ่งและมีความแตกต่างจากจริยธรรมด้านอื่น ๆ ทั้งนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านการศึกษาหลายหน่วยงาน ได้กำหนดโครงสร้างจริยธรรม พร้อมทั้งกำหนดคุณลักษณะของจริยธรรม ไว้ดั้งนี้
1) ความรับผิดชอบ หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่อย่างตั้งใจ มีความละเอียดรอบคอบ มีความพากเพียรพยายามเพื่อให้งานหรือภาระที่รับผิดชอบอยู่บรรลุผลสำเร็จตรงตามเป้าหมาย
2) ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมา ตรงต่อความเป็นจริง ทั้งการ วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น
3) ความมีเหตุผล หมายถึง การรู้จักใช้สติปัญญา ไตร่ตรอง คิดใคร่ครวญ หรือพิสูจน์ สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประจักษ์ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์ และความยึดมั่นในความคิดของตนเอง
4) ความกตัญญูกตเวที หมายถึง ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณของบุคคลผู้มีอุปการะคุณ หรือ สิ่งอันมีคุณต่อมนุษย์เรา และแสดงออกถึงความสำนึกในบุญคุณนั้นด้วยการตอบแทนคุณ อาจกระทำด้วยสิ่งของหรือการกระทำอย่างนอบน้อม
5) ความอุตสาหะ หมายถึง ความพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการงานหรือกิจกรรมที่ทำด้วยขยันขันแข็งกระตือรือร้น อดทน ถึงแม้จะประสบปัญหาหรืออุปสรรคขัดขวางก็ไม่ยอมแพ้และไม่ย่อท้อ
6) ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพียงเป็นนำหนึ่งใจเดียวกัน การให้ความร่วมมือในการกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว รวมทั้งมีความรักในหมู่คณะของตน
7) ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติของตนเองให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาททางสังคม กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ กฏหมายและศลีธรรม
ความเสียสละ หมายถึง การลดละความเห็นแก่ตัว การแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วยทรัพย์สิน กำลังกาย และกำลังปัญญาของตนเอง
9) ความประหยัด หมายถึง การใช้สิ่งของหรือใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและพอเหมาะพอควร เพื่อให้เกิดประโยชนสูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ้มเฟือยจนเกิดฐานะของตน
10) ความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตนด้วยความเที่ยงตรง การพิจารณาเรื่องราวต่างๆ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่มีความลำเอียงหรือเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
11) ความเมตตากรุณา หมายถึง ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข และมีความสงสารอยากจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์
นางสาว จีรภา เพ็งผาลา เลขที่ 6 พณ.3/12
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น